การพยากรณ์ความต้องการ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตขวดน้ำดื่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกวิธีการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าสำหรับกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าของบริษัทผลิตขวดน้ำดื่ม ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าแบบเก็บสต็อกเพื่อรอจำหน่าย ในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าได้ศึกษาถึงลักษณะรูปแบบของข้อมูลยอดขายในอดีตเพื่อการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูลการขาย ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป MINITAB ในการพยากรณ์ โดยทำการพยากรณ์ด้วยเทคนิคการพยากรณ์ 4 วิธี ได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Method) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย (Single Exponential Smoothing Method) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียล แบบโฮลท์ (Double Exponential Smoothing Method) การพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียล แบบวินเทอร์ (Triple Exponential Smoothing Method) หรือ Winter’s Method และวัดความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) พบว่า การพยากรณ์ที่เหมาะสม คือ การพยากรณ์ของวินเทอร์ ซึ่งให้ค่าความคลาดเคลื่อน MAPE ต่ำที่สุดเท่ากับ 5.12 และลดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ลงถึงร้อยละ 63.15 ลดจำนวนสินค้าขาดสต๊อกร้อยละ 89.97 รวมถึงทำให้สินค้าคงเหลือลดลงร้อยละ 79.37
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กุณฑลี รื่นรมย์. (2545). การพยากรณ์การขาย, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ ศุภนคร. (2554). การพยากรณ์อนุกรมเวลาสำหรับการวางแผนการผลิตชิ้นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์แบริ่ง, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 595-606.
ณรงค์เดช เดชทวิสุทธิ์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ด้วยวิธีการพยากรณ์ความต้องการ. วารสาร มฉก.วิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 15(30), 107-117.
ณัฐพล วีระชาล. (2561) การประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์สำหรับบริษัทผู้ผลิตสินค้าเคมีเพื่อการ เกษตร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตย์ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดาว สงวนรังศิริกุล, หรรษา เชี่ยวอนันตวานิช และ มณีรัตน์ แสงเกษม. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย ที่เป็นโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 38, 35-55.
ธนะรัตน์ รัตนกูล, สุกานดา จันทวีและกันต์ธมน สุขกระจ่าง. (2561). ตัวแบบการพยากรณ์ความต้องการข้าวไรซ์เบอรี่ที่เหมาะสม กรณีศึกษา กลุ่มนาข้าวอินทรีย์ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2, หน้า 1195-1206. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ประวีรา โพธิสุวรรณ. (2561). รายงานการศึกษาภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ, สุนันฑา สดสี และ พยุง มีสัจ (2018). การเปรียบเทียบรูปแบบความเหมาะสมการระบายน้ำด้วยเทคนิคการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา. Journal of Science and Technology Mahasarakham University. 37(5), 715-725.
รชฏ ขำบุญ และคณะ. (2549) การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
รวิพิมพ์ ฉวีสุข และธนิกานต์ จุฑาเจริญวงศ์. (2553). การพยากรณ์ปริมาณความต้องการ และวางแผนการผลิตชิ้นส่วนไก่สำหรับผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปแช่แข็ง: กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทธุรกิจการผลิตไก่ครบวงจร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). การพยากรณ์ ปริมาณการส่งออกยางคอมปาวด์. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ. 30(2), 41-56.
วรางคณา เรียนสุทธ. (2563). การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังในประเทศไทย. Thai Science and Technology Journal (TSTJ), 28(1), 1-13.
วัชรินทร์ เปียสกุล และธนัญญา วสุศรี. (2550). การพยากรณ์และการวางแผนการ ผลิตรวม: กรณีศึกษาบริษัทผลิตกะทิสด. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการด้าน การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 7, หน้า 321- 334. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิชัย สุรเชิดเกียรติ. (2545). การพยากรณ์ทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร: พริ้นติ้ง.
Chatfield, C. (2006). The analysis of time series: An introduction (2nd ed.). London: Chapman and Hall.
David, C. H., & Peter, L. J. (1994). Modeling the Evolution of Demand Forecasts ITH Application to Safety Stock Analysis in Production/Distribution Systems. IIE Transactions. 26(3), 17-30.
Fleischmann, B., Meyr, H., & Wagner, M. (2015). Supply Chain Management and Advanced Planning (Fourth Edition): Concepts, Models, Software, and Case Studies, Springer. Berlin: Heidelberg.
Gabriel, R. B., Elizabeth, A. H. & Hirofumi, M. (1986). Production Planning of Style Goods with High Setup Costs and Forecast Revisions. Operations Research, 34(2), 226 – 236.
Hyndman, R.J. (2020). A brief history of forecasting competitions. Int. J. Forecast, 36(2020), 7-14.
Jay, H., Barry, R., & Chuck, M. (2020). Operations Management: Sustainability and Supply Chain Management. 13th Edition. Pearson.
Küsters, U., McCullough, B.D., & Bell, M. (2006). Forecasting software: Past, present and future Int. Journal Forecast, 22, 599-615.