การยกระดับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ทรัพย์ อมรภิญโญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยแบ่งกระบวนการศึกษาออกเป็น 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ 2) การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ 3) การคัดเลือกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อดำเนินการผลิตต้นแบบบรรจุภัณฑ์ และ 4) ส่งเสริมช่องทางการตลาด เรื่อง การคำนวณต้นทุน การกำหนดราคาขาย และช่องทางการตลาด การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) สนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้องในบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทั้งหมด 4 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้วิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อาหาร จำนวน 6 คน 2) กลุ่มผู้ผลิต ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน สมาชิกชุมชน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการจำหน่ายของฝาก ผู้ประกอบการที่พัก จำนวน 12 คน 3) กลุ่มผู้บริโภค ได้แก่ ผู้บริโภคที่ซื้อไปใช้เอง ผู้บริโภคที่ซื้อไปเป็นของฝาก จำนวน 10 คน และ 4) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 35 คน ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากสมาชิกชุมชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 300 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการจำหน่ายของฝาก ผู้ประกอบการที่พัก ผู้บริโภคที่ซื้อไปใช้เอง ผู้บริโภคที่ซื้อไปเป็นของฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยว และพัฒนาชุมชน ในจังหวัดหนองคาย แล้วนำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ ผงโรยข้าวรสชาติลาบปลานิล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในด้าน 1) เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น 2) แปรรูปผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในชุมชน 4) ผสมผสานวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว 5) สามารถผลิตได้โดยทักษะของคนในชุมชน 6) สามารถเก็บรักษาได้โดยไม่ต้องแช่เย็นตลอดเวลา และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ผลิต และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค 3 แบบ ได้แก่ 1) แบบกระปุก 2) แบบกล่อง และ 3) แบบซอง โดยราคาต้นทุนจะอยู่ที่ 224 บาท หากจำหน่ายราคา 80 บาท ต่อน้ำหนัก 28 กรัม จำนวน 5 ชิ้น รายได้รวม 400 บาท จะได้กำไรทั้งหมดเท่ากับ 176 บาทหรือ 35.2 บาทต่อชิ้น และส่งเสริมช่องทางการตลาด 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ช่องทางตลาดออนไลน์ และ 2) ช่องทางตลาดออฟไลน์ และจากการทดลองจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบในตลาดจริง พบว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการตอบสนองที่ดีจากผู้บริโภค เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเห็นคุณค่าของวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนของตน สามารถสร้างรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน

Article Details

How to Cite
อมรภิญโญ ท. (2021). การยกระดับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(6), 103–121. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2964
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ตาลกุล, มานวงศ์ ธนิกกุล, พัชราภรณ์ ตันจินดา, สิทธิ์ชนน สิทธิชัยนันท์, ศุภชัย เหมือนโพธิ์, ศรวิชา กฤตาธิการ. (2562). การวิจัยเพื่อการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ปลาสลิดไร้ก้าง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 77-88.

ณธกร อุไรรัตน์. (2559). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 8(1), 165-202.

ธวัช พะยิ้ม. (2560). ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์และฉลากบนบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋น ของกลุ่มเกษตรอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2), 38-46.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืด แม่สมศรี ต.ทุ่งลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.

ภาสกร รอดแผลง. (2564). การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์งอบ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทยลาวแง้วทองเอน อำเภอสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 35-45.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สมพงษ์ เกษานุช, พระมหาสมเด็จ อัตสาร, พระจำนงค์ ผมไผ, & คิด วรุณดี. (2564). การประเมิน ศักยภาพและความต้องการของชุมชนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดหนองคาย. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(1), 13-26.

ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์. (2562). บรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ และแผนกลยุทธ์การสื่อสาร ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(3), 250-259.

Bergold, J., & Thomas, S. (2012). Participatory research methods: A methodological approach in motion. Historical Social Research, 37(4), 191-222.

Kotler, P., Keller, K. L., Ang, S. H., Tan, C. T., & Leong, S. M. (2021). Marketing management: an Asian perspective. Singapore: Pearson Education.

Clark, J. S., Porath, S., Thiele, J., & Jobe, M. (2020). Action research. Manhattan: New Prairie Press.