ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

กมลรัตน์ โยธานันต์
ชลนที บูรรุ่งโรจน์
ศรินรัตน์ ศงสนันทน์
ชัยธัช กุประดิษฐ์
วิชุดา ธีระสาร
อุษนีย์ ศรีสารคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และสถิติการทดสอบเอฟ ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD ผลจากการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการบริการ ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่วนทางด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ผู้ใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2561). สถิติประชากรและบ้าน จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). พาณิชย์' เตรียมปรับโหมดผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย...ให้ค้าออนไลน์แบบมือโปร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469415082

กรรณิการ์ ศรีไชยโยรักษ์ ณัฐกานต์รุ่งเรือง และ ปริชญา อุดมผล. (2564). การวิเคราะห์มาตรวัดส่วนประสมทางการตลาดบริการของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1), 88.

กันยากาญจน์ จันทร์เหลี่ยม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการไปรษณีย์ไทย สาขามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 360-361.

จุไรพร พินิจชอบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ญาธิณี เหลืองทรัพย์ทวี. (2560). ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ กรณีศึกษาบริษัทขนส่งเอกชนเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณิชาภัทร บัวแก้ว. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการคุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำเปรียบเทียบระหว่างบริษัทขนส่งเคอรี่เอกซ์เพรส จำกัดและบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด. การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปทุมธานี.

นฤมล พันธุ์เตี้ย. (2558). พฤติกรรมของผู้ใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัดสาขาสำเหร่.มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร.

พรนรา เสาวลักษณ์สกุล. (2560). ความพึงพอใจในของผู้ใช้บริการต่อบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดและบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

มนสินี เลิศคชสีห์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินการบินไทย สำหรับการให้ บริการภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิรินุช คาน. (2563 ). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเวียดนามของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 63.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). เปิดโผ ธุรกิจรุ่ง ปี 62. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก https:// www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Business-Trend-2019.pdf

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). ขนส่งพัสดุ ปี 2020 โตพุ่ง 35% แข่งขันหนัก-ค่าบริการลดลง. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://www.scb.co.th/th/corporate-banking/market-insight.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2560. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8110

สำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานี – กรมบัญชีกลาง. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2563, จาก https://www.cgd.go.th/cs/udn/udn

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html

สุริยะ พิศิษฐอรรถการ. (2556). ประเภทของอุปสงค์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://econosuriya.blogspot.com/2012/11/blog-post_5592.html

Aaker, D.A. (2001). Strategic Market Management. 6th ed. New York: John Wileg & Sons.

Armstrong, J. S., & Overton, T. S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14, 396-402.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.