องค์ประกอบของสมรรถนะทางวิชาชีพของหัวหน้าแผนกครัวในองค์กรธุรกิจร้านอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะทางวิชาชีพของหัวหน้าแผนกครัวในองค์กรธุรกิจร้านอาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดองค์กรธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเป็นผู้ที่ประกอบวิชาชีพในระดับหัวหน้าแผนกครัว ตำแหน่งเชฟ และเป็นสมาชิกในสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 556 คน คำนวณหาขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยประชากรในกรณีที่ทราบขนาดของประชากร โดยกำหนดความเชื่อมั่นไว้ที่ 95% ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยให้ตำแหน่งหัวหน้าแผนกครัวและประเภทของธุรกิจอาหารเป็นชั้นภูมิ (Stratum) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามหัวหน้าแผนกครัวที่มีต่อสมรรถนะทางวิชาชีพ โดยใช้มาตรวัดแบบ Likert สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และสสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะทางวิชาชีพของหัวหน้าแผนกครัวมีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะทางวิชาชีพ ร้อยละ 64.29 เรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ภาวะความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 2 การใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน องค์ประกอบที่ 3 สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และองค์ประกอบที่ 4 ลักษณะส่วนบุคคล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชี. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 141-152.
ธันยนันท์ ทองปานคุณานนท์. (2557). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทโพสโค (ไทยแลนด์) จำกัด. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมาคมเชฟประเทศไทย. (2561). รายงานสถิติการจ้างงานในตำแหน่งเชฟในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารในปี พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก https://www.thailandchef.in.th
สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และภาวนา สายชู. (2552). MBA HANDBOOK. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ออฟเซท.
อานันท์ เกียรติสารพิภพ. (2562). Academic Focus (ก.พ. 2562) Disruptive Technology การดำรงชีวิตจะเปลี่ยนไป. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model of effective performance. New York: John Wiley and Sons Inc.
David, D.D., & William, R.J. (2004). Competency – Based Human. Resource Management.
Zwell, M. (2000). Creating a culture of competence. New York: John Wiley & Sons.