การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองความพึงพอใจการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบความกลมกลืนแบบจำลองความพึงพอใจการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 414 ราย ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลจากการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการจัดการ และด้านบุคลากร โดยแบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (/df) มีค่าเท่ากับ 1.45 ที่ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.91 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.033 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) เท่ากับ 0.044
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ธิราลักษณ์ ธีรวัจณนาภา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคลากรครูในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน จังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา ปิ่นแก้ว, กิ่งกาญจน์ พรมมาพงษ์ และ ปัทมาพร เงินแจ้ง. (2557). รายงานวิจัยสถาบัน เรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เบญญาภา แสนสุทธิ์, พรทิพย์ ปุกะหุต, อุดมพร ถาวรอธิวาสน์ และ เพ็ญสุดา ทิพย์สุมณฑา. (2559). การสำรวจความพึงพอใจในการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. หน้า 2077-2086. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2560– 2561 (ฉบับปรับปรุง). อุดรธานี: งานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2563). ระบบสารสนเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://portal4.udru.ac.th/report_student1/
สุติมา นครเขต. (2561). การประเมินผลการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Goffin, R. D. (2007). Assessing the adequacy of structural equation model: Golden rules and editorial policy. Personality and Individual Differences, 42(5), 831-839.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.
Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G., (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. 3rd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.