กลยุทธ์การตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ

Main Article Content

ศุภากร เอี่ยมอำพร
สุตราภัทร จันทรประเสริฐ

บทคัดย่อ

ในยุคปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการของสายการบินต้นทุนต่ำและสามารถนำไปกำหนด กลยุทธ์ทางการตลาดบริการให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภครวมถึงสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของกลยุทธ์การตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีต่อ ตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ 2) เพื่อศึกษาระดับความภักดีต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ 3) เพื่อเปรียบเทียบความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำโดยจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ และ 4) เพื่อศึกษากลยุทธ์ตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้โดยสารที่เคยใช้บริการของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในเขตท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 400 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ t-test, F-test และสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีรายได้แตกต่างกันมีความภักดี ต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำต่างกัน และกลยุทธ์การตลาดบริการด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและการเรียนรู้ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในขณะเดียวกันด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้านราคาและค่าใช้จ่าย และด้านสิ่งแวดล้อมทางภายภาพไม่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปพิชญา หงษสินี และวอนชนก ไชยสุนทร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะการบริการและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). ตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

มาโนช พรหมปัญโญ และมณฑิชา เครือสุวรรณ์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของสายการบินแอร์เอเซีย. ใน การประชุมวิชาการด้านการบินระดับชาติ ครั้งที่ 1 วันที่ 11 มิถุนายน 2561, หน้า 23-35. กรุงเทพฯ: สถาบันการบินพลเรือน.

วิภาวดี ทูปิยะ. (2561). กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. กรณีศึกษาสายการบินไทยไลอ้อนแอร์สายการบินนกแอร์ สายการบินแอร์เอเชีย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 61(4), 252-257.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (เมษายน 2562). บทแนวโน้มวิเคราะห์ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-n/business/Pages/z2979.aspx.

สันติพงศ์ จิโรจน์กุลกิจ, องครักษ์ ธรรมวิหาร และกฤษณ์ วิทวัสสำราญกุล. (2563). การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, (2561). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย, ฉบับปรับปรุงวันที่ 17 พฤษภาคม 2562.

สิริวัฒน์ มีแสงพราว และไพโรจน์ เกิดสมุทร. (2558). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อการให้บริการของสายการบินไทยสมายล์. Southeast Bangkok Journal, 1(2), 23-37.

สุมนรัตน์ อัศววิมล และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2562). ปัจจัยทางการตลาดและการเลือกใช้บริการสายการบินภายในประเทศไทย, วารสารการวิจัยและการบริหารการพัฒนา, 9 (2), 28-35.

อนุศักดิ์ รัตนกนกกาญจน์ และปิยฉัตร วงศ์ปัจฉิม. (2562). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี, วารสารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(6), 74-75.

อรรถพล ม่วงสวัสดิ์ และดุสิต ศิริสมบัติ. (2562). แนวทางการให้บริการของสายการบินอัลตร้าโลว์คอสต์ในประเทศไทย, วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(2), 52-63.

Kotler, P.& Armstrong, G. (2014). Principles of marketing. 15th ed. New Jersey: Pearson International Edition.

Lovelock and Wirtz, (2007). Services Marketing. People, Technology, strategy. 6th ed. Pearson International Edition.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior. 9th ed. New Jersey: Pearson Education.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2010). Consumer Behavior. 10th ed. New Jersey: Pearson Education.

Yamane, T. (1973). Statistics and Introductory. Singapore: Time Printers Sdn.Bhd.