ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลเบิล เมอริท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการธำรงรักษาและการคงอยู่ของพนักงาน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการธำรงรักษาและการคงอยู่ของพนักงาน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การคงอยู่ของพนักงานห้างหุ้นส่วน โกลเบิล เมอริท กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของทางห้างหุ้นส่วน โกลเบิล เมอริท จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการธำรงรักษาและการคงอยู่ของพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลเบิล เมอริท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการธำรงรักษามีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของพนักงาน ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลเบิล เมอริท มีความสัมพันธ์ระดับสูงในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) สมการพยากรณ์การคงอยู่ของพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลเบิล เมอริท คือ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 1.098 + .281 (การฝึกอบรมและพัฒนา) + .241 (วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในการทำงาน) + .184 (บทบาทของหัวหน้า) หรือ Y = 1.098 + .281(X2) + .241(X1) + .184 (X4) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .384 (การฝึกอบรมและพัฒนา) + .281(วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในการ ทำงาน) +.244 (บทบาทของหัวหน้า) หรือ Z = .281(X2) + .282(X1) + .244 (X4)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญารัตน์ สุทธิประภา, ทศพร มะหะหมัด, และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2559). การธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 12(1), 59-69.
ธีระวุฒิ ตรีประสิทธิ์ชัย. (2557). ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรในอุตสาหกรรมการโรงแรมระดับ 5 ดาวในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปฏิมา สุคันธนาค. (2561). ปัจจัยการธำรงรักษาที่มีผลต่อการคงอยู่ของคนเก่งใน บจก.วิทยุการบินแห่งประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(19), 71-87.
สรัญญา บัลลังก์ และ ปิยะ วัตถพาณิชย์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษาบุคลากรในธุรกิจแบบครอบครัว กรณีศึกษา: บริษัท AAA ในจังหวัดลำปาง. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, หน้า 173.187. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุนิศา อุดมโชค และ อิงอร ตั้นพันธ์. (2562). การธำรงรักษาพนักงานประจำร้าน บริษัท วิลล่า มาร์เก็ท เจพี จำกัด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 14(1), 39-52.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.