ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจคงอยู่ของพนักงานหญิงในธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษาเครือโรงแรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสนับสนุนความสามารถในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรในส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญต่อความเป็นเพศหญิงในการแข่งขันทางอาชีพ การพัฒนาอาชีพของบุคคลากร และความสมดุลงานและครอบครัวกับคุณภาพชีวิต ต่อความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานหญิงในธุรกิจ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่งผลต่อการตั้งใจคงอยู่ของพนักงานหญิงในธุรกิจโรงแรม กรณีศึกษาเครือโรงแรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงของเครือโรงแรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 400 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรในประเด็นท้าทายต่างๆ ของการทำงานของพนักงานหญิง ได้แก่ การสนับสนุนความสามารถในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญต่อความเป็นเพศหญิงในการแข่งขันทางอาชีพ การพัฒนาบุคลากร และความสมดุลงาน ครอบครัว และคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตั้งใจคงอยู่ของพนักงานหญิงในธุรกิจโรงแรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ได้แก่ การสนับสนุนความสามารถในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน การพัฒนาบุคลากร และความสมดุลงาน ครอบครัว และคุณภาพชีวิตมีอิทธิพลต่อการตั้งใจคงอยู่ของพนักงานหญิงในธุรกิจโรงแรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรรัช กุณรินทร์ และจิราพร ระโหฐาน. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1). 104-115.
คณะกรรมการเสริมสร้างความผูกพันองค์กร. (2564). สมดุลชีวิต 8 - 8 - 8 : สูตรสร้างความสุขสมดุล ให้กับชีวิตและการทำงาน (เอกสารคู่มือ). อุบลราชธานี: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10.
จิตรลดา ช่วงประยูร, ภาวิน ชินะโชติ และ ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ. (2566). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผล ต่อ การคงอยู่ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะในจังหวัดสระบุรี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 36(1).
ธนวัชฐ์ เกษศิลา ธัญนันท์ บุญอยู่ และสุมาลี รามนัฏ. (2565). อิทธิพลของความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดกรอผ้าใยสังเคราะห์ จังหวัดระยอง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 11(1). 61-76.
เธียรไชย ยักทะวงษ์ นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และคานู ปรียา โมฮาน. (2565). การประยุกต์สมดุลชีวิตกับการทำงานสำหรับพนักงานองค์กรเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8). 14-27.
ภคพร กระจาดทอง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของเชฟโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี. (2565). แรงจูงใจและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 18(1). 36-50.
อรอนงค์ วิริยะกิจ ธัญนันท์ บุญอยู่ และสุมาลีรามนัฏ. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันและการคงอยู่ของพนักงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในจังหวัดสุทรปราการ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 8(1), 99-114.
Adam, J.S. (1965). Inequity in social exchange. Advance in Experimental and Social Psychology, 2, pp. 267-299.
Aselage, J. & Eisenberger, R. (2013). Perceived organizational support and psychological contracts: a theoretical integration. Journal of Organizational Behavior. 24(5), 491–509.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S. & Sowa, D. (1986). Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology. 71(3), 500-507
Herzberg, F., Mausner, B., & Syndermn, B. B. (1959). The motivation to work (2nd ed). New York: Wiley & Son.
Hofstede G. (1991). Cultures and organizations - software of the mind. New York: McGraw Hill.
Hyman, J. & Summers, J. (2004). Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Personnel Review, 33(4), 418-429.
Mathis, R. L. & J. H. Jackson. (2011). Human Resource Management (13th ed). USA: South-Western Cengage Learning.
Rosenstock, M. I., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly, 15(2), 75-138.