การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สิริกร ประทุม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบการจัดการโลจิสติกส์และองค์ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขัน ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 - 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ ด้านรูปแบบการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวนครั้งในการมาท่องเที่ยวมากกว่า 5 ครั้ง นอกจากนี้มีวัตถุประสงค์ในการมาเพื่อการท่องเที่ยว มีระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1 วัน (ไป - กลับ) สถานที่พักส่วนใหญ่เป็นบ้านในจังหวัดสมุทรปราการ มีการสืบค้นสถานที่ท่องเที่ยวจากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต แหล่งท่องเที่ยวที่นิยมมากที่สุดคือ ตลาดบางน้ำผึ้ง งบประมาณในการท่องเที่ยว 1,000 - 2,000 บาท ด้วยเหตุนี้สามารถสรุปความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบด้าน การจัดการโลจิสติกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 และองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 อยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สามารถสรุปได้ 2 ประเด็น ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ คือ 1) พัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) อบรมผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และด้านการท่องเที่ยวและการวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขัน พบว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันเพื่อสร้างความแข่งแกร่งให้กับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยว. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=531.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือท่องเที่ยว 15 ตลาดบก 16 ตลาดน้ำ. ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กิตติพงศ์ ชัยกิตติภรณ์ และอุบลวรรณา ภวกานันท์. (2558). การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.). วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เกล็ดดาว หมอกเมือง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริฉัตร อิ้งจะนิล. (2557). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบตลาดเก่า: กรณีศึกษา ตลาดคลองสวน 100 ปี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พเยาว์ ลายทองสุข. (2559). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นประเภทผ้าซิ่นตีนจก (ผ้าคูบัว). วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ภัทร บุญโท. (2560). การศึกษาองค์ประกอบแนวปฏิบัติที่ดีของโลจิสติกส์เชิงสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ, ทศพร มะหะหมัด และเยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง. (2562). ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1-11.

วิทยา สุหฤทดำรง. (2545). การจัดการโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2562). เข็มทิศท่องเที่ยว ไตรมาส 1/2562. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562, จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/wpcontent/uploads/2019/02/TheCompassQ1_2562.pdf.

สุธาสินี วิยาภรณ, สุรศักดิ์ สุวุฒโฑ, มุฑิตา ทวีการไถ, หทัยชนก วนิศรกุล และทักษิณา แสนเย็น. (2562). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(1), 115-123.

อมรรัตน์ ฟริญญาณี, (2558). การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบในชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.