การสำรวจความคิดเห็นของพนักงานต่อรูปแบบการจัดการองค์การและ การประเมินประสิทธิภาพของตนเองของพนักงานเพื่อปรับรูปแบบองค์การให้แข่งขันได้ ภายใต้ความไม่แน่นอนทางธุรกิจในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษา บริษัททริปเปิ้ล เอส (ประเทศไทย) จำกัด

Main Article Content

นิศาชล ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อรูปแบบการจัดการองค์การและการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ทริปเปิ้ล เอส (ประเทศไทย) 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการประเมินประสิทธิภาพตนเองของพนักงานจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) สร้างสมการพยากรณ์รูปแบบการจัดการองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรคือพนักงานบริษัท ทริปเปิ้ล เอส (ประเทศไทย) จำกัด เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One way ANOVA) การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการองค์การอยู่ในระดับความ สำคัญมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.92) และระดับความคิดเห็นการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x} = 3.89) พนักงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ทริปเปิ้ล เอส (ประเทศไทย) จำกัด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการพยากรณ์รูปแบบการจัดการองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคือ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 1.160 + .256 ทักษะ + .194 ค่านิยมร่วม + .139 โครงสร้าง + .126 ระบบ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .305 ทักษะ + .250 ค่านิยมร่วม + .161 โครงสร้าง + .161 ระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติยา ฐิติคุณรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ขวัญใจ สุดรัก. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การ บริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

ฤทัยรัตน์ แสนศิลา. (2557). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธรรม พงศ์สำราญ. (2559). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวิวัฒน์พาณิชย์ จำกัด.

Gary Dessler. (2020). Human Resource Management. (16th ed.). Typeset in Times NRMT Pro by SPi Global. Malaysia: Pearson.