ความพึงพอใจของประชาชนต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รติพร มีชัย
สำเริง นนศิริ
ชลลดา เหมะธุลิน
นฤมล ชินวงศ์
ศุภกิจ พาณิชย์กุล
ยุทธนา จันทร์ปิตุ
ภัทรจิตรา เพียรชนะ
อดุลย์ ทองแกม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่ยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่ยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 397 คน วิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ด้วยค่า t-test และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่มากกว่า 2 กลุ่ม ด้วยค่า F-test หรือ ANOVA เพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ 1) ด้านการประหยัดพลังงาน เวลา และค่าใช้จ่าย 2) ด้านคุณภาพของเว็บไซต์ 3) ด้านความสะดวกและรวดเร็ว และ 4) ด้านความปลอดภัยและการให้คำปรึกษา สำหรับการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ลักษณะการทำงาน และช่วงเวลาที่ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต เพื่อทดสอบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกัน ทำให้ระดับความพึงพอใจต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกันหรือไม่ พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และลักษณะการทำงาน เป็นลักษณะที่ทำให้ความพึงพอใจต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีความแตกต่างกัน ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะต้องการให้มีการปรับปรุงระบบการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรองรับต่อการใช้งานของประชาชนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยทั้งด้านข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน และควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาให้ความรู้ด้านภาษีอากรและประมวลรัษฎากรแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
มีชัย ร., นนศิริ ส., เหมะธุลิน ช., ชินวงศ์ น., พาณิชย์กุล ศ., จันทร์ปิตุ ย., เพียรชนะ ภ., & ทองแกม อ. (2021). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6), 1–13. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3186
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวิทย์ เชื้อพรหม และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาด และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต. 1(2), 297-316.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2558). เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ศุขจี มูลทองย้อย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาผ่านอินเตอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริรัตน์ มุขดารา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมคิด บางโม. (2559). การภาษีอากรทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

สาวิตรี นาคม่วง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากร ภาค 4. วารสารวิจัยและพัฒนาภัฏวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(3), 127-138

เอมอร พลวัฒนกุล และ สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร. (2551). สาเหตุการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต : กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1), 1-12.

อุศณี กอจิตตวนิจ และ มนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2553). ความพึงพอใจในการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้เสียภาษีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาชีพบัญชี. 6(16), 28-42.