ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนคณะกรรมการ กับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI)

Main Article Content

ชุดาพร สอนภักดี
ธาวินี สุขมี
พิมพ์ชนก อิทธิพัทธ์วรกุล
สรัญญา เอี่ยมอำนวย
ชมพูนุช อินทร์ขาว
อารียา ผิวเผือด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยรวบรวมข้อมูลงบการเงินแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน 66 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนการกำกับดูแลกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 2) คะแนนการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตรากำไรสุทธิ และมูลค่าทางตลาด 3) ค่าตอบแทนคณะกรรมการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรสุทธิ และมูลค่าทางตลาด ทั้งนี้ผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการให้เหมาะสม โปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐริกา อนุเวช. (2562). ค่าตอบแทนคณะกรรมการและการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. (2566). รายชื่อบริษัทจดทะเบียน. https://www.set.or.th/th/market/index/mai.

ภัทรศจี ขำครุธ. (2562). ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai). วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin – Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(106), 13-22.

มาริษา มีประมูล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการสร้างมูลค่าเพิ่มกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมริน กล้าแท้. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการอิสระกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม). การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2566). แนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ. https://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Document/Regulation/Director_Compensation_Best_Practices.pdf.

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2566). ข้อมูลการกำกับดูแลกิจการย้อนหลัง 5 ปี. https://www.thai-iod.com.

สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2566). การกำกับดูแลกิจการที่ดี. https://www.set.or.th/th/about/overview/cg.

สุชญา ชาญณรงค์กุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุพัสรา นราแย้ม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัญญา ขันธวิทย์, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และเดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

อารยา จันทรโสภา. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้บริหารกับผลการดำเนินงานของบริษัท: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Amarjit Gill. (2011). The Effect of Capital Structure on Profitability: Evidence from the Unites States. International Journal of Management, 28(4), 3-15.

Iman Harymawan et al., (2020). Remuneration committees, executive remuneration and firm performance in Indonesia. Heliyon, 6(2), 1-11

Jensen, M. C., and Meckling, W. H. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.

Victor Octavian Muller. (2014). Do corporate board compensation characteristics influence the financial performance of listed companies. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 109(2014), 983-988.

Yusuf Mohammed Nulla. (2015), Financial Reporting Quality in Large Energy & Mining Companies: A Canadian Case Corporate Ownership and Control, Virtus Interpress, 12(3), 428-440.