ผลกระทบของสมรรถนะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพของรายงานทางบัญชีภาครัฐ : สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลกระทบของสมรรถนะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพของรายงานการบัญชีภาครัฐ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 122 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะนักบัญชียุคดิจิทัล ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชีและด้านความสามารถในการปรับตัว มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพของรายงานทางบัญชีภาครัฐ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรให้ความสำคัญกับสมรรถนะนักบัญชียุคดิจิทัล โดยมีการพัฒนาสมรรถนะนักบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีสมรรถนะด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี และสามารถเรียนรู้ในการปรับตัวให้ทันต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยการเรียนรู้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดทำบัญชี รายงานข้อมูลผ่านระบบหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การรายงานผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีของหน่วยงานภาครัฐมีความถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วย งานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 18-28.
กรมบัญชีกลาง. (2566). เกณฑ์การประเมินผลการปฎิบัติงานด้านบัญชีของส่วนราชการ. สืบค้น กรกฎาคม 1, 2566 จาก https://www.dgr.go.th/law/th/newsAll/368/8758.
กรมบัญชีกลาง. (2566). ยุทธศาสตร์กรมบัญชีกลาง 20 ปี, หนังสือที่ กค 0413.2/219 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2562. สืบค้น กรกฎาคม 1, 2566 จาก https://www.cgd.go.th.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ความสามารถในการปรับตัว. สืบค้น กรกฎาคม 20, 2566 จากhttps://trust-vision.com.
ประสุตา นาดี, และคณะ. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล: ทักษะการปรับตัวในโลกที่ เปลี่ยนแปลง. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(2), 20-29.
พีระจิตรี โสมะภีร์. (2566). การนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติราชการภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 : กรณีสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี และพุฒิสรรค์ เกตุมรรคา. (2563). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุค ดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชีจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 69-84.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารนักบัญชีสถานศึกษา พ.ศ. 2552 หมวด 2. สืบค้น กรกฎาคม 1, 2566 จาก https://www.vec.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานอาชีวศึกษาศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. สืบค้น กรกฎาคม 1, 2566 จาก https://www.vec.go.th.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2566). ประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลองค์การมหาชน เรื่องแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ. สืบค้น กรกฎาคม 1, 2566 จาก https://standard.dga.or.th.
อมร โททำ. (2564). ความรู้ความเข้าใจทางวิชาชีพบัญชีสำหรับผู้ปฏิบัติงานบัญชีของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(1), 1-15.
อมรรัตน์ ศรีชัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพตนเองกับความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 1-118.
Aaker, D.A., Kumar,V. & Day, G.S. (2010). Marketing Research (7th ed.). New York: John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking (4th ed.). USA: John wiley & Sons. pp. 585.
Hair, J.F., Black, W.C. & Erson, R.E. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed). New Jersey: Pearson.