พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

อนุศักดิ์ รัตนกนกกาญจน์
พีระนันท์ คำบอนพิทักษ์
ขนิษฐา ศักดิ์สุรีย์มงคล
ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่เคยสั่งซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยส่วนใหญ่สั่งซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย มีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง ชำระเงินโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร คิวอาร์โคด พร้อมเพย์ มีความถี่ในการซื้อสินค้าเดือนละ 1 ครั้ง ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นแหล่งข้อมูล เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เนื่องจากมีสินค้าและบริการตรงตามความต้องการ จากการทดสอบไคสแควร์ พบว่า เพศและอายุมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เลือกใช้ ประเภทสินค้าที่ซื้อ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับวิธีชำระค่าสินค้าและบริการ รายได้เฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับมูลค่าของสินค้าโดยเฉลี่ยที่ซื้อ และความถี่ในการซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
รัตนกนกกาญจน์ อ., คำบอนพิทักษ์ พ., ศักดิ์สุรีย์มงคล ข., & วงศ์ปัจฉิม ป. (2019). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(2), 19–34. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3439
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2560). ข้อมูลเชิงลึกของแฟนเพจ. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จาก https://www.facebook.com/ManagementScienceUDRU/.

จิรภัทร เริ่มศรี. (2558). พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คที่มีผลกระทบต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 58-65.

ฉัตรรวีร์ ศรีศิลารักษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องแต่งกายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชานนท์ จันทวงศ์. (2557). การซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้มีรายได้ในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ณัฐนันท์ มิมะพันธุ์. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐศักดิ์ วรวิทยานนท์. (2556). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธนิฎฐา พุ่มอิ่ม (2557). ปัจจัยในการเลือกใช้เครื่องมือการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2560). พฤติกรรมการซื้อและวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 95-113.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิศุทธิ์ อุปถัมภ์. (2556). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์(อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด เอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562 จากhttps://www.etda.or.th

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุกัญญา ฆารสินธุ์ และ เจนรบ พละเดช. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์สังกัดเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1, หน้า 25-36. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี.

เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงค์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cheawkamolpat, p. (2009). Online shopping behavior: a study of consumer in Bangkok. Bangkok: Assumption University.

Hootsuite (2018). Social media usage data in Thailand. Retrieved December 10, 2018, Form https://hootsuite.com/.