ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

กรรณิการ์ ศรีไชยโยรักษ์
ธีระพล คุณบุราณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตเทศบาลนครอุดรธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาพักแรมในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 430 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลจากการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรม พบว่า โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ ประชุม และสัมมนา โดยเลือกใช้บริการโรงแรมเป็นที่พักแรม มีจำนวนผู้ร่วมเดินทาง 1 – 2 คน มีระยะเวลาเดินทาง 1 – 2 วัน มีราคาที่พักแรมระหว่าง 500 – 1,000 บาทต่อคืน ใช้วิธีการจองที่พักแรมผ่านโทรศัพท์ ตัดสินใจเลือกที่พักแรมด้วยตนเอง โดยพิจารณาจากที่พักแรมที่อยู่ใกล้ชุมชนเป็นหลัก 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (gif.latex?x^{2}/df) มีค่าเท่ากับ 1.743 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .93 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .91 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .042 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) เท่ากับ .036

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลนครอุดรธานี. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาเทศบาลนครอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์, จาก http://www.udoncity.go.th/public4/content/

ปฤณพร บุญรังสี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ เดือนตุลาคม), 193-205.

พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์. (2558). ปัจจัยที่มีศักยภาพของเมืองด้านธุรกิจการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 45-56.

พินิตา แก้วจิตคงทอง และ เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดประชุมและสัมมนา (MICE) ของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 35-46.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก. (2562). สถานการณ์ธุรกิจโรงแรมปี 2561 –2562. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน.

สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2560). บทสรุปทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีสำหรับผู้บริหาร. จังหวัดอุดรธานี: กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานจังหวัดอุดรธานี.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่น มีเดีย.

อีสานบิซ. (2561). “คลังอุดร” คาดเกษตร-อุตฯ-บริการ หนุนเศรษฐกิจปี 61 โต 3.2% ดันฮับการบินอีสานบน. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.esanbiz.com/12195/

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: John Wiley and Sons.

Chou, T.Y., Hsu, C.L., & Chen, M.C. (2008). A fuzzy multi-criteria decision model for international tourist hotels location selection. International Journal of Hospitality Management, Vol.27, 293-301.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.

Hu, L. & Bentler, P. (1999). Cutoff criteria for fit indices in covariance structure analysis: conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, Vol.6, 1-55.

Jöreskog, K. G. & Sörbom, D. (1989). LISREL-7 user's reference guide. Mooresville, Indiana: Scientific Software.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd Ed.). New York: McGraw-Hill.