ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่เคยสั่งซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยสถิติ t-test และ F-test วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ทดสอบเป็นรายคู่ในกรณีที่มีความแตกต่างกัน โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference ( LSD ) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ปัจจัยทางการตลาด คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากร กระบวนการให้บริการ และลักษณะทางกายภาพ อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยความสำคัญกับความสะดวก สามารถซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยของระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ผู้มีอาชีพที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยของระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันในด้านการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากร ลักษณะทางกายภาพและภาพรวม ระดับรายได้ที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยของระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมการปกครอง. (2560). สถิติประชากรและบ้าน จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562, สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
กรมสรรพากร. (2561). ผลการจัดเก็บภาษี ปีงบประมาณ 2550-2561. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562 สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/publish/310.0.html
ชนนิกานต์ จุลมกร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของนิสิต ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สถิติ). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, และ ศรีรัฐ ภักดีรณชิต. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบของร้านค้าออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องแต่งกายแฟชั่น ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 21-31
เทศบาลนครอุดรธานี. (2561). รายงานสรุปและประวัติความเป็นมาของเทศบาลนครอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562 สืบค้นจาก http://www.udoncity.go.th/public4/
เทียมจันทร์ พานิชผลินไชย. (2539). เอกสารคำสอนระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นีระนุช โชติพันธ์. (2555). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อช่องทางการจัดจำหน่ายไวน์. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์.
การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พลัฏฐ์ เกริกไกวัลธ์. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกซ์ทางออนไลน์ช้อปปิ้งของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (การตลาด). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2558). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านเว็บไซต์พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์. ริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มนลภัส รัตนพันธ์. (2558). การตลาดออนไลน์ การรับรู้ต่อเว็บเครือข่ายสังคม Facebook ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้านำเข้าจากเกาหลีโดยวิธีการสั่งซื้อล่วงหน้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 88-104.
วรุตน์ ประไพพักตร์. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องครัวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศิพิม อังศุสิงห์. (2559). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Marketing) ที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อเบเกอรี่ผ่านช่องทางออนไลน์ ของร้าน Pimpong Bakery Homemade. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562 สืบค้นจาก https://www.etda.or.th
สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อ บนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุริยะ พิศิษฐอรรถการ. (2556). ประเภทของอุปสงค์. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561 สืบค้นจาก http://econosuriya.blogspot.com/2012/11/blog-post_5592.html
Hoot suite (2018). Social media usage data in Thailand. Retrieved December 10, 2018, Form https://hootsuite.com/
Kotler, P. (1997). Marketing management analysis, planning, implementation and control. 9th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.z
Vijaya, L. V., Aparanjini, N. D., & Lahari, G. (2017). Impact of Gender on Consumer Purchasing Behaviour. IOSR Journal of Business and Management, 19(8), 33-38
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York : Harper and Row.