ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเวียดนาม ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเวียดนาม รวมทั้งเปรียบเทียบปัจจัยดังกล่าวจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคอาหารเวียดนาม จำนวน 384 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารเวียดนาม โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเลือกซื้ออาหารเวียดนามจากร้านอาหารเป็นหลัก มีความถี่ในการบริโภค 1-2 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการบริโภคครั้งละ 100-200 บาท โดยจะรับประทานร่วมกับครอบครัวเป็นหลัก มีเหตุผลในการบริโภคคือ ชื่นชอบในรสชาติอาหาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเวียดนาม ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านสถานที่จัดจำหน่าย ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับปานกลาง โดยเพศส่งผลต่อการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัณฐมณี สงข์ขำ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การบริโภคน้ำผักผลไม้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิตยา กันลัยพันธ์. (2546). พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกรับประทานอาหารเวียดนามของผู้บริโภคในเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัญญดา บุญสิน. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นฟูจิ ในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมฐินี ภิญโญประการ. (2558). สภาพแวดล้อมทางกายภาพ คุณภาพในการให้บริการ สื่อสังคมออนไลน์ และคุณภาพอาหารที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารเวียดนามซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
สามารถ ปิติพัฒน์. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่กำหนดอุปสงค์อาหารเวียดนาม: การประยุกต์ใช้แบบจำลองการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 32(4), 15-33.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อรสา วงษ์ไพศาล. (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเวียดนามและความพึงพอใจที่มีต่อการบริการของร้านอาหารเวียดนามของประชากรในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: ร้านคุณอ้อแหนมเนืองโชคชัย 4. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing. (14th ed.). Boston: McGraw – Hill.
Kotler, P. (1997) Marketing management analysis, planning, implementation and control. (9th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hall.