ผลกระทบของความสำเร็จระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพ การดำเนินงานทางการบัญชีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

นฤมล พันธุชา
อุเทน เลานำทา
วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลกระทบของระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการบัญชี ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 106 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพสารสนเทศด้านคุณภาพบริการ ด้านการใช้งาน ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และด้านประโยชน์ที่ผู้ใช้งานได้รับ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินงานทางการบัญชีโดยรวม ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ควรตระหนักถึงความสำเร็จในการนำระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนดำเนินงาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร ช่วยให้การดำเนินงานเกิดความสะดวกรวดเร็ว และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลต่อในระบบสารสนเทศขององค์กร อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2562). รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/registered#top

กรมสรรพากร. (2561). ภาพรวมการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562, จาก https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/?fbclid=IwAR2VQW4pWhiNEftXo2PIeQDZdzzzd6w7cSKO_tJifX4Lzsrb9R4Lb4yUuIA#/index/main%23top

จันทร์จิรา ตลับแก้ว และ เพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. อินฟอร์เมชั่น, 23(1), 23-38.

จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์. (2558). อิทธิพลของการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อคุณภาพระบบสารสนเทศ คุณภาพการให้บริการ และประโยชน์สุทธิขององค์กร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 199.

ปัฐมา ตั้งศักดิ์สุพรรณ และ ชฎาพร ฑีฆาอุมากร. (2562). ความพร้อมในการจัดทำใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารวิจัยธุรกิจและการจัดกา เพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(1), 1-13.

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรทางออนไลน์ (E-FILING). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 8(2), 176-177.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2562). การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน:การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล HOT ISSUE. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2562, จาก http://www.parliament.go.th/library

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2553). การวางแผนกลยุทธ์: ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมผลผลิตแห่งชาติ.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุเทน เลานำทา และ นาถนภา นิลนิยม. (2561). การสำรวจความพึงใจของการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD E-Filing โดยสมัครใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(Supplement), 71-82.

Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G. (2001). Marketing Research. (7th ed.). New York: John Wiley and Sons.

DeLone, W. H., and McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information System Success. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

Hair, J. F., Black, W. C., and Anderson, R. E. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: pearson.

Muhammad, S., Aneela, M., Mahmud, A., and Awais, S. (2019). Exploring the interrelationships between technological predictors and behavioral mediators in online tax filing: The moderating role of perceived risk. Government Information Quarterly, 36(2), 237-251.

Sadress, N., and Juma, B. (2018). The Mediating role of adoption of an electronic tax system in the relationship between attitude towards electronic tax system and tax compliance. Journal of Economics, Finance and Administrative Science, 25(49), 73-88.

Sharda, H., Bharti, M., and Sukhjeet, K. (2015). Behavioral Intention of Taxpayers towards Online Tax Filing in India: An Empirical Investigation. Journal of Business & Financial Affairs, 4(1), 1-5.

Utetiwabo, S., Patrick, M. and Oluoch, O. (2018). Effect of Electronic Tax System on Tax Compliance among small and medium Tax Payers in Rwanda: Case study Of Nyarugenge Sector. Journal of Management and Commerce Innovations, 6(1), 1169–1178.