การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกชำระค่าบริการ ผ่าน QR CODE สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เอกธนัช ศรีบุญมา
สายพิณ ปั้นทอง
ณัฐินี ชุติมันตพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกชำระค่าบริการผ่าน QR Code สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่พักโรงแรมขนาดกลาง ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยชำระค่าบริการผ่าน QR Code จำนวน 400 ราย มีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์การทดสอบความเป็นอิสระต่อกันของสองตัวแปร โดยใช้การทดสอบความเป็นอิสระต่อกันของสองประชากร การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ QR Code ชำระค่าบริการ ของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ด้านความคาดหวังจากความพยายาม (gif.latex?\bar{x} = 4.65) รองลงมา คือ ด้านความพร้อมของอุปกรณ์สนับสนุน (gif.latex?\bar{x} = 4.45) ด้านความคาดหวังจากประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{x} = 4.35) ด้านทัศนคติต่อการใช้งานระบบ (x̅ = 4.34) ด้านอิทธิพลของสังคม (gif.latex?\bar{x} = 4.19) ด้านความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานระบบ (gif.latex?\bar{x} = 4.11) และ ด้านความกังวลใจของผู้ใช้งานระบบ (gif.latex?\bar{x} = 3.26) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้เทคโนโลยีในการชำระค่าบริการผ่าน QR Code ของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโรงแรมขนาดกลาง ในจังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนปัจจัยการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจชำระค่าบริการผ่าน QR Code ของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านอิทธิพลของสังคม 2) ด้านความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานระบบ 3) ด้านทัศนคติต่อการใช้งานระบบ 4) ด้านความพร้อมของอุปกรณ์สนับสนุน และ 5) ด้านความคาดหวังจากประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรณษา แสนละเอียด. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เกวลิน จันทร์ประเทศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมและการตอบรับการใช้ Mobile Payment ของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในการรับชำระเงินในรูปแบบ QR Code. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 14(2), 165-182.

จิตรสินี ทองจำนงค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของพนักงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาญชัย อรรคผาติ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการยอมรับในเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในการให้บริการระบบบัญชีออนไลน์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในมุมมองของผู้ทำบัญชี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานระบบการชำระเงิน 2560. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พุทธชาด ลุนคำ. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561 – 2563 ธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย.วารสารการจัดการ, 7(2). 47 – 63.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว คาดช่วยหนุนรายได้ตลาดไทยเที่ยวไทยทั้งปี 2562 แตะ 1.12 ล้านล้านบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3024.aspx

อริญชัย วีรดุษฎีนนท์. (2560). ยูเนี่ยนเพย์เผยคนไทยนิยมชำระเป็นเงินสดและ QR Code คาดการณ์อีก 12 ปี เข้าสู่สังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562, จาก https://themomentum.co/the-future-of-payments-by-union-pay/

อาทิตย์ เกียรติกำจร และ ภูมิพร ธรรมสถิตเดช. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี : กรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Interactive Whiteboard ในการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bigseventravel.com. (2019). The 50 Friendliest Cities in Asia. Retrieved August 12, 2019, form https://bigseventravel.com/2019/09/the-50-friendliest-cities-in-asia/

Travel and Leisure. (2019). The Top 10 Cities in Asia in 2018. Retrieved June 22, 2019, from https://www.travelandleisure.com/worlds-best/cities-in-asia-2018?slide=693658#693658

Venkates, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.