การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
สุขเกษม ลางคุลเสน
ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร
นันทะ บุตรน้อย
กนกพร ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ ประกอบด้วย (1) เพื่อบริหารแผนงานวิจัยให้บรรลุเป้าหมาย (2) เพื่อจัดทำแผนธุรกิจภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (3) เพื่อพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานและสมาชิกกลุ่มตัดเย็บบ้านเวียงสวรรค์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แผนงานวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ ประเมินได้จากผลผลิตตามแผนงานวิจัย และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายและตรงตามตัวชี้วัด โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมด 9 ผลผลิต ประกอบด้วย (1) แผนธุรกิจที่สามารถทำให้การดำเนินงานของกลุ่มตัดเย็บมีระบบมากขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา (2) เสื้อพื้นเมืองที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น จำนวน 10 แบบ สร้างยอดขายเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 40 (3) ได้ตราสินค้า แบรนด์สวรรค์ ที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน (4) การสื่อสารทางการตลาดในงานแสดงสินค้า เมืองทองธานี (5) ได้ช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ โดยการใช้ระบบ e-commerce ที่เชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าเข้ากับระบบสารสนเทศ (6) บรรจุภัณฑ์จากเศษวัสดุในการผลิต (7) กลยุทธ์ทางการเงิน (8) ระบบการผลิตสมัยใหม่ และ (9) ระบบบัญชีอย่างง่าย ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การดำเนินงานของกลุ่มตัดเย็บบ้านเวียงสวรรค์เป็นระบบ ตรวจสอบได้ นอกจากนั้นแล้วการผสมผสานอัตลักษณ์เข้ากับตัวสินค้าทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์สร้างความแตกต่างและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ

Article Details

How to Cite
อินต๊ะขัน ไ., ฐิติยาปราโมทย์ ณ., ลางคุลเสน ส., สุริยะสาร ฐ., บุตรน้อย น., & ศรีวิชัย ก. (2020). การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(4), 63–75. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3555
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2561). รายชื่อวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2561, จาก http://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2563). Innovation Management มิติใหม่ของการจัดการ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.ftpi.or.th/2020/24185

ธงพล พรมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 97-122

ธันยมัย เจียรสกุล. (2557). ปัญหาและการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1),177-191

แบลร์ ซิงเกอร์. (2557). สร้างทีมให้ชนะ (Team Code of Honor). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน, สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา และ สว่าง เทพเถา. (2554). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน น้ำดื่มชุมชนบ้านสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 อนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประทศอย่างยั่งยืน, หน้า 310-317. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัจวัฒก์ วรโยธา, มนัสดา ชัยสวนียากรณ์, วิลาสินี แสงคำพระ และ มงคล กิตติวุฒิไกร. (2561). การพัฒนาระบบบัญชีในการบริหาร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 81-89.

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน, ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน และ เจษฎา ทองสุข. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เซรามิกด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อโอกาสทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ประเภทของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึกในจังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1), 1-12.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือการวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.