ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมระดับ 3 ดาว ในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี กรณีศึกษา

Main Article Content

ณัฐกานต์ รุ่งเรือง
ปริชญา อุดมผล
ธีระพล คุณบุราณ
โชติกา นาคประสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจโรงแรม และความจงรักภักดีของลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพักโรงแรม 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจโรงแรม และความจงรักภักดีของลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพักสำหรับโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพักในโรงแรมระดับ 3 ดาวแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert Scale) มีค่าอำนาจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.284 - 0.801  และมีค่าความเที่ยงซึ่งวัดด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Alpha Cronbach Coefficient) เท่ากับ 0.924 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิกติก (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 


           1) . โดยภาพรวมลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมระดับ 3 ดาว ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของโรงแรม ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดแต่ละด้านพบว่า ความพึงพอใจต่อทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง


          2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมระดับ 3 ดาว ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ รายได้ ประเภทของห้องพัก ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และสิ่งอำนวยความสะดวก

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ณ., อุดมผล ป., คุณบุราณ ธ., & นาคประสูตร โ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมระดับ 3 ดาว ในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี กรณีศึกษา . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(6), 74–87. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3582
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ศรีไชยโยรักษ์ และคณะ. (2566). รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษา โรงแรมโรงแรมพรรณราย จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 15-30.

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต. (2564). ภาพลักษณ์องค์กร คุณค่าตราสินค้า และความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด ธุรกิจบริการ ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมจันทรเกษมปาร์ค. วารสารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน, 16(1), 58-76.

ชลียา จินดาบุญมณี. (2559). ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเข้าพักและด้านความพึงพอใจของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมในเขตเมือพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.

ชัย วัชรงค์. (2567). นักท่องเที่ยวต่างชาติ เที่ยวในประเทศไทยปี 2566 สะสมกว่า 27 ล้านคน. กรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2597, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/246427

ฐานเศรษฐกิจ. (2559). โรงแรมอีสานบนแข่งดุซัพพลายอุดรล้น 3 พันห้อง‘เซ็นทารา’ชูบริการ-ราคาต่ำกว่าลาว. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567, https://www.thansettakij.com/general-news/50572

ณัฐกานต์ รุ่งเรือง และคณะ. (2563). ความภักดีของลูกค้าธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจำแนกตามส่วนประสมทางการตลาด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6), 75-88.

ณัฐนนท์ ขวัญทอง. (2562). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล กระบวนการ และคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีผู้เข้าพักในโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐภัทร บัณฑิตวรากุล และเสาวลักษณ์ จิตต์น้อม. (2565). การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 91-107.

นิมิต ซุ้นสั้น และสุภัทรา สังข์ทอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำและการแนะนำบอกต่อของลูกค้าสำหรับโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. TNI Journal of Business Administration and Languages, 6(2), 8-13.

พิมพ์นิภา รัตนจันทร และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. ครั้งที่ 13 ปี การศึกษา 2561. จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิทยา เจียมธีระนาถ และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมระดับ 4 ดาวในกรุงเทพมหานคร. วาสารชุมชนวิจัย, 14(4), 144-157.

สุทธิสินี ถิระธรรมสรณ และ ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุของกลยุทธ์การตลาดบริการที่มีผลต่อคุณภาพการบริการและความจงรักภักดีต่อการบริการที่พักประเภทโรงแรมและรีสอร์ท ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(1), 49-64.

อารยา บุญปลูก. (2561). คุณภาพบริการ คุณภาพห้องพัก ชื่อเสียงและความคุ้มค่าด้านราคา ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความภักดีต่อโรงแรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Deri, M.N. et al. (2023) . Digital Future of the Hospitality Industry and Hospitality Education Globally. International Handbook of Skill, Education, Learning, and Research Development in Tourism and Hospitality.

EHL Insights. (2024). What is the hospitality industry? All your questions answered. Search from https://hospitalityinsights.ehl.edu/hospitality-industry

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty. Journal of Marketing, 63(1), 33-44.

Pearce, M. (1997). The True Science of Nurturing Marketing. Marketing Technique, 97(7), 6-8.

UNWTO. (2023). World Tourism Barometer: May 2023. Search from https://en.unwto-ap.org/news/worldtourismbarometer_may2023/