ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ เตียงงา
ศราวุธ ผิวแดง
กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดกับข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดกับข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ การสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างมากกว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า


1. ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ อาชีพและรายได้ที่ต่างกันมีความคาดหวังที่มีต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคาดหวังที่มีต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดไม่แตกต่างกัน 3. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ที่ต่างกันมีการรับรู้ต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
เตียงงา ส., ผิวแดง ศ. ., & หลวงวังโพธิ์ ก. (2024). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(5), 52–63. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3588
บท
บทความวิจัย

References

จังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). วิสัยทัศน์จังหวัดร้อยเอ็ด. https://www.roiet.go.th/101province/index.php?r=about/index&id=9.

ณหทัย มุขดีสุทธวัฒน์. (2564). ความคาดหวังและการรับรู้ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมายังพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทิพย์นารี แพทย์วงศ์. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อการบริการของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.

ธนบูลย์ พรหมพรต. (2561). การรับรู้ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้านการบริการผู้โดยสารบนเครื่องบินเฉพาะในส่วนของผู้ให้บริการตามเกณฑ์การจัดอันดับของ SKYTRAX ศึกษากรณีบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2561). การประเมินคุณภาพการบริการที่คาดหวังเปรียบเทียบกับการบริการที่รับรู้จริงเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยองของประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(3).

รินรดา กุลีช่วย. (2561). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่อมาตรฐานการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ ในจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เรวิตา สายสุด ปริญญา บรรจงมณีและอัญชลี เหลืองอ่อน. (2565). การเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองของจังหวัดราชบุรี ประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2).

ศุภาพิชญ์ หมื่นละม้าย ดนชิดา วาทินพุฒิพร พันจิตต์ สีเหนี่ยง คะนึงรัตน์ คำมณีและจิรัฐินาฏ. (2566). การรับรู้และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 6(1).

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

อุณากุล อภิวนัสบดี. (2563). การแบ่งส่วนตลาดนักท่องเที่ยวตามการรับรู้ความคาดหวังและพฤติกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการ ท่องเที่ยวแบบบูรณาการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Dickman, C. R. (1996). Overview of the impacts of feral cats on Australian native fauna. Australian Nature Conservation Agency Canberra.

Hair, J. F. Jr., Black W. C., Babin B. J., Anderson R. E. and Tatham R. L. (2010). Multivariate data analysis (6thed). New Jersey: Pearson Education International.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(Fall), 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-41.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.