การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุมชน แหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง

Main Article Content

นฤพรรณ ตั้งวานิชย์เจริญ
ปารนารี บ่ายฤกษ์ดี
ณพล ธนาวัชรากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหนองหาน-ทะเลบัวแดง และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยวัฒนธรรมชุมชน ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม มีพื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ หมู่บ้านเหล่าหมากบ้า หมู่ที่ 7 ตำบลแชแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาด้านประวัติความเป็นมา ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการค้นหาอัตลักษณ์ ใช้วิธีการสำรวจ (Survey) การสังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ทั่วไป และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย


ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหนองหาน-ทะเลบัวแดง มี 4 อย่าง ประกอบด้วย ดอกบัวแดง นกพื้นถิ่น ใบบัว และปลาน้ำจืด ซึ่งพบเห็นได้บ่อยในแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ มีความโดดเด่นและสร้างการจดจำให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองได้ 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พวงกุญแจดอกบัวแดง พวงกุญแจนกเป็ดน้ำ ผ้ารองจานรูปใบบัว และกระเป๋าปลาน้ำจืด โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถสื่อให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับการดูแลและอนุรักษ์จากผู้คนภายในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับผู้คนภายในชุมชนจากการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในช่วงฤดูกาลและนอกฤดูกาลได้ และยังสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ ได้ โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่เดิมอย่าง ผ้าฝ้ายทอมือ ที่ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น สามารถยกระดับมูลค่าและสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2566). ข้อมูลทั่วไป ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี. https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ทะเลบัวแดง-หนองหานกุมภวาปี.

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. งบประมาณภายใน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2565). การออกแบบเลขนศิลป์บ้านช่างทองโบราณ 100 ปี ริมคลองบางราวนก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 197-218.

ฐิญาภา เสถียรคมสรไกร และพิมพ์สิรี สุวรรณ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น. วารสารวิชาการ Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 411-432.

เทศบาลตำบลแชแล. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปตำบลแชแล. http://www.chaelae.go.th/struct.php

พันธุ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรม. ภาควิชาสุขศึกษา และพฤติกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภางค์จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). ทะเลบัวแดงหนองหานบานสะพรั่งแล้วคนแห่ชมทะลุ200,000คน. https://www.thansettakij.com/business/tourism/550913.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี). (2560). นกในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี. https://portal.dnp.go.th/p/udonthani.