ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี “เมืองกีฬา”

Main Article Content

ปทุมพร ศรีอิสาณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี “เมืองกีฬา” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลจากการศึกษา ระดับคุณภาพชีวิต มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.93 (S.D.=0.61) และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แต่ละด้าน พบว่า ด้านที่อยู่อาศัย (X5) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (S.D.=0.79) ด้านสุขภาพอนามัย (X1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 (S.D.=0.68) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (X3) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 (S.D.=0.80) ด้านสภาพแวดล้อม (X4) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 (S.D.=0.83) และด้านเศรษฐกิจ (X2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 (S.D.=0.90) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) = 0.664 และสามารถร่วมอธิบายว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี “เมืองกีฬา” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จินตนา รัตนวงษา. (2561). ปัจจัยที่มีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดวงกมล คนโฑเงิน. (2556). คุณภาพชีวิตของประชากรในเขตควบคุมมลพิษของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2564). คุณภาพคือความอยู่รอด ตอน คุณภาพชีวิต...อยู่ที่ใคร?. มติชนออนไลน์. สืบค้น เมษายน 18, 2565, จาก https://www.matichon.co.th › คอลัมนิสต์

สำนักกรรมาธิการ. (2562). ข้อมูลประกอบการพิจารณา คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการกีฬา.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of MCU Peace Studies, 8(2), 473-489.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Dorota, W. B. (2016). Quality of life in cities–Empirical evidence in comparative European perspective. Cities, 58, 87-96.

Gobbens, R. J., & Remmen, R. (2019). The effects of sociodemographic factors on quality of life among people aged 50 years or older are not unequivocal: Comparing SF-12, WHOQOL-BREF, and WHOQOL-OLD. Clinical Interventions in Aging, 14, 231-239.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. Harper and Brothers.

Pradeep, G. C., Tiraphat, S., & Chompikul, J. (2017). Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal. Journal of Public Health and Development, 15(3), 50-64.

Rebecca, P., Rebecca, K., & Joerg, K. (2016). Quality of life of residents living in a city hosting mega-sport events: A longitudinal study. BMC Public Health, 16(1), 1102.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.