การสร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

กฤษฎา ณ หนองคาย
ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน
สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์
นรเพชร ฟองอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ใช้บริการในเขตพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลจากการศึกษา พบว่า คุณภาพการบริการ ได้แก่ การเอาใจใส่ลูกค้า ความเป็นรูปธรรมของบริการ การตอบสนองต่อลูกค้า และการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Y = 0.509 + 0.291 (การเอาใจใส่ลูกค้า) + 0.231 (ความเป็นรูปธรรมของบริการ) + 0.207 (การตอบสนองต่อลูกค้า) + 0.153 (การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = 0.296 (การเอาใจใส่ลูกค้า) + 0.212 (ความเป็นรูปธรรมของบริการ) + 0.209 (การตอบสนองต่อลูกค้า) + 0.148 (การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า)

Article Details

How to Cite
ณ หนองคาย ก., พิพัฒน์สูงเนิน ป., กิจธนวัฒน์ ส., & ฟองอ่อน น. (2025). การสร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 79–89. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3935
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชชัย สุจริต, & เบญจวรรณ สุจริต. (2566). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคบนแอปพลิเคชัน ผ่านความพึงพอใจในการใช้บริการ. วารสารการจัดการและการวิจัย, 11(2), 1-15. from https://so02.tcithaijo.org/index.php/jmsr/article/view/265564

ทิวพรรณ ดีขุนทุด. (2561). ความพึงพอใจในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทไฟเบอร์ออพติกของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ 2. (2565). แผนวิสาหกิจ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติปี 2566-70. สืบค้น 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566, จาก https://www.ntplc.co.th/about-nt/strategies-develop.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(18), 375-396.

สุนทรชัย, ส. (2563). การสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนในการให้บริการของภาครัฐ. วารสารการบริหารการพัฒนาสังคม, 6(2), 45-56. from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/246980.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). สืบค้น 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/.

อภิวุฒิ ตั้งจิตการุญ. (2554). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตัดสินใจในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Alnsour, M. S., Abu Tayeh, B., & Alzyadat, M. A. (2014). Using SERVQUAL to assess the quality of service provided by Jordanian telecommunications sector. International Journal of Commerce and Management, 24(3), 209-218.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Engel, E., Fischer, R., & Galetovic, A. (2020). The impact of public–private partnerships in infrastructure, health, and education. Journal of Economic Literature, 58(4), 923 –987. https://doi.org/10.1257/jel.20211607.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Hodge, G. A., & Greve, C. (2019). The effect of public–private partnerships on innovation in infrastructure. Public Works Management & Policy, 24(2), 145–172. from https://doi.org/10.1177/1087724X18807860.

Klunpakdee, P. (2020). Service quality, service marketing strategy, and new normal service satisfaction are affecting foreign tourists’ loyalty to Thai world-class spa services in Thailand (Doctoral dissertation, Dhurakij Pundit University). from https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Pakdee.Klu.pdf.

MCOT. (2023, January 15). NT adjusts customer service centers to reduce redundancy. from https://www.mcot.net/view/wab0Hw2Q.

Miller, R. (2022). The New Public Management approach in governance reform. Journal of Public Sector Innovation, 12(2), 78-90. from https://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/178.

National Telecom Public Company Limited (NT). (2023). Strategic plan 2024-2028. from https://www.ntplc.co.th/docs/default-source/budgetplan/nt-strategic-plan-2567-2571.pdf

Nguyen, T., & Lee, S. (2021). Enhancing public sector management quality: A case study of award-winning agencies. Journal of Government Performance Review, 15(4), 110-125. from https://library.parliament.go.th/sites/default/files/assets/files/works/academic%20office/books/pdf/NALT-work-academic-2561-nareeluck.pdf

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Thai Government. (2024, October). Thailand elected to UN Human Rights Council with highest votes. from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/88982.

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.