การพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

Main Article Content

ชวลิต ยศสุนทร
ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล
สุนันทา รัตนสุนทร
เสาวภา เนธิบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 2) ประเมินคุณภาพระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย มีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ในการประเมินคุณภาพ และลูกค้าและบุคคลทั่วไปจำนวน 400 คน ในการประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบสามารถช่วยบริหารจัดการข้อมูลสินค้า ข้อมูลประชาสัมพันธ์ กิจกรรมข่าวสาร สร้างโอกาสให้ถึงนักท่องเที่ยวหรือลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้กระบวนการขายเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2) คุณภาพของระบบอยู่ในระดับดีมาก ระบบทำงานได้อย่างถูกต้อง มีฟังก์ชันตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน มีประสิทธิภาพสูง สะดวกและใช้งานง่าย พร้อมทั้งมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง 3) ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบในระดับมากที่สุด  ระบบทำงานมีประสิทธิภาพ ประมวลผลข้อมูลถูกต้องและเชื่อถือได้ การออกแบบหน้าจอมีสีสันสวยงาม แสดงรายละเอียดคำสั่งซื้อและสินค้าครบถ้วน ระบบมีความปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวตนและช่องทางการชำระเงินที่ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้ โดยสรุประบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
ยศสุนทร ช., หวังวัชรกุล ช. ., รัตนสุนทร ส., & เนธิบุตร เ. (2025). การพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 30–45. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3990
บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา ไสยญาติ และจันจิรา ดีเลิศ. (2567). การพัฒนาระบบสารสนเทศร้านขายอุปกรณ์อิงค์เจ็ท: กรณีศึกษา ร้าน ส.บ้านศิลป์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1), 40-52.

ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล, พิมพ์พิชชา ประภาวิรัลพัชร์ และดานุกา นามวงค์ษา. (2566). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับธุรกิจและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเลย: กรณีศึกษา ห้าง ส.ทวีภัณฑ์สโตร์ จังหวัดเลย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(3), 1-15.

ชาลิสา ดิษฐ์เจริญ. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ยุค new normal. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติมา นิ่มนวล และสลิลทิพย์ ผ่องแผ้ว. (2566). ระบบบริหารจัดการร้านขายวัสดุก่อสร้าง กรณีศึกษา: ร้าน ป.รุ่งเรืองค้าวัสดุ. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 8(2), 16-25.

นธิตตา แพทย์เพียร. (2565, 23 สิงหาคม). ผู้ดูแลวิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์. สัมภาษณ์.

นันทนิธิ์ เอิบอิ่ม และวาริศรา โพธิ์พึ่ง. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการร้านกาแฟ. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 8(2), 16-25.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

พรรณธิภา เพชรบุญมี, & จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตภัณฑ์บ้านโฮ่ง ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 1-11.

ยุทธการ ชาจันทร์, สิทธิศักดิ์ พิธุวัน, ชวลิต ยศสุนทร และชรินทร์ญา หวังวัชรกุล. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์: กรณีศึกษาบ้านสวนอุ่นรักฮักแพง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. ใน วารสารการประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยยระดับชาติ e-Proceeding National Research conference 2021: NRC2021 Business Beyond the Pandemic, หน้า 727-734. มหาสารคาม: คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580).จาก https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. 2561-2565.จาก https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/depa-Promotion-Plan-Book61-65.pdf.

อภิสิทธิ์ ไทยสมบูรณ์, ยุวธิดา ชิวปรีชา และเปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์. (2564). การพัฒนาระบบการจัดการซื้อขายออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (ASTC 2021), หน้า 1067-1076. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อรสา เตติวัฒน์ และจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน. (2563). ต้นแบบระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP. ใน การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพันาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 12 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อก้าวสู่สังอมอัจฉริยะ 4.0 วันที่ 26-27 พฤษภาคม 2563, หน้า 422-426. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Jamjang, A., & Kraiwanit, T. (2019). Business Model Transformation in Digital Era. Asian Administration and Management Review, 2(2), 37–44.

Kendall, K. E., & Kendall, J. E. (1998). Systems analysis and design. (8th ed.). Pearson Education.

Thamma, N., Anywatnapong, W., Tunpornchai, W., & Saetang, C. (2024). Transforming E-Commerce: Artificial Intelligence Effect on Purchase Decision and Happiness. Asian Administration and Management Review, 7(1), 133-144.

W.G. Cochran. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons.