การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีบทคัดย่อ
ในยุคปัจจุบันที่มีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้ ถือเป็นความท้าทายของการพัฒนาการศึกษาให้มีความก้าวหน้า มีคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับตามที่คาดหวัง ทำให้การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ ควบคู่กับการเรียนแบบบรรยายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดและแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 65 คน โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าหลังเรียน และ 2) การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 1208-1223.
ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี. 1-148.
ธิดา แซ่ซั้น และทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน. วารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 16-145.
ธัชพล ทีดี. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวิเคราะห์โครงการและการบริหารโครงการ เรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วารสารวิชาการ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 11-22.
ณัฎฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2559). การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 93-102.
ปวเรศ อินทจักร์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นทักษะการปฏิบัติในรายวิชางานปรับอากาศรถยนต์ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 คณะช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิตเทคโนโลยีเครื่องกล. สถานศึกษาที่สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. 1-15.
พรรณสิยา นิธิกิตติ์สุขเกษม และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดิจิทัลของผู้เรียนสาขาวิชาการ จัดการสำนักงาน. T-Vet Journal. สถาบันการศึกษาภาคเหนือ 3. 24-38.
ภัทรสุดา ยะบุญวัน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับ การเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฝ่ายทะเบียนคณะวิทยาการจัดการ. (2566). ข้อมูลรายงานสถิตินักศึกษา แยกตามคณะ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้น มกราคม 20, 2566 จาก www.rmufms.com
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
สรไกร เปรมวงษ์ และอรนุช ลิมตศิร. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุด กิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม). Journal of Modern Learning Development, 8(1), 200-210.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570. ฉบับ เสนอคณะรัฐมนตรี (เดือน เมษายน 2565).
สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2566). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น กุมภาพันธ์ 12, 2566
จาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1246
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education ( 2nd ed.). New York: McGraw – Hill.
Kuder, G. F., and Richardson, M. W. (1973). Theory of the test reliability. Psychometrika, 1(2), 151-160.
Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the
Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of
Educational Research, 2(2), 49-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.