การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, การท่องเที่ยวชุมชน, สื่อประชาสัมพันธ์, บ้านหนองผักหนอกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ด้านการสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองผักหนอก 2) พัฒนาทักษะการสื่อสารของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก และ 3) ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการผลิตสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนและคณะครู และแกนนำชุมชน จำนวน 25 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ตัวแทนแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการณ์ด้านการสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองผักหนอกยังขาดการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเป็นระบบ การสื่อสารประชาสัมพันธ์และสื่อที่เผยแพร่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอกส่วนใหญ่เป็นสื่อที่ผลิตโดยหน่วยงานของรัฐที่เข้าไปส่งเสริมตามภารกิจหน้าที่ ยังไม่ใช่ลักษณะของสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นระบบอย่างแท้จริง และขาดการบูรณาการร่วมกัน
- การพัฒนาทักษะการสื่อสารของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการเป็นมัคคุเทศก์ให้แก่นักเรียนและคณะครูโรงเรียนบ้านหนองผักหนอก และแกนนำในชุมชน ผลประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54)
3. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์ จำนวน 5 เรื่อง มีคะแนนคุณภาพเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.66) และสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.63)
References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กรวรรณ เวชชานุเคราะห์. (2557). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการ จัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วารสารศาสตรมหาบัณฑิตและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). เรื่องสื่อสาร – การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ และคณะ (2557, กรกฎาคม - ธันวาคม). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลาดน้ำในลุ่มน้ำภาคกลางอย่างยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 1(1), 99 – 130.
ชูวิทย์ ศิริโชคเวชกุล. (2551). เที่ยวให้รู้ เปิดประตูสมอง. กรุงเทพฯ: เอ็กซพลอเรอร ชาแนล.
ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักรเนตร (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน. เอกสารประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559,
วันที่ 1 กรกฎาคม 2559, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์.
เบญญา จริยวิจิตร และเกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์. (2561). การพัฒนานักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนบ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), 221 – 256.
ปารณีย์ ศรีสวัสดิ์, ณัฐกานต์ แน่พิมัย, เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ และพงศ์เทพ แก้วเสถียร. (2562). การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 150 – 166.
พวงชมพู ไชยอาลา และแสงรุ่ง เรืองโรจน์. (2559, กันยายน - ธันวาคม). การศึกษาอัตลักษณ์และการสื่อความหมายเพื่อส่งเสริมการทองเที่ยวชุมชนบ้านสระบัว อําเภอนาดูน จังหวัด มหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 121 – 136.
วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น เมษายน 16, 2564 จาก https://www.randdcreation.com/content/5112
ศรัณย์ บุญประเสริฐ. (2560, ตุลาคม - ธันวาคม). ท่องเที่ยวชุมชน บนเส้นทางเรียนรู้. วัฒนธรรม, (4), 6 - 21.
สถาบันการท่องเที่ยวชุมชน (ม.ป.ป.). รู้จักการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT). สืบค้น พฤษภาคม 12,2564 จาก https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว, กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการ ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำราญ แสงเดือนฉาย. (2563). การออกแบบสารในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่. สืบค้น มิถุนายน 19, 2564
จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/CommArts-Article21
Hall, S., and Du Gay, P. (Eds.). (1996). Questions of cultural identity. Sage Publications, Inc.
Tufte, T. and Mefaloputlos, P. (2009). Participatory communication: A practical guide. Washington D.C.: The World Bank.
UNESCO. (2006). Understanding Creative Industries: Cultural statistics for policy maker. United States: UNESCO.
Servaes, J., Jacobson, T. A., and White, S. A. (1996). Participatory communication for social change. California: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.