การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติ กรณีศึกษาบริษัท ABC

ผู้แต่ง

  • กิตติวัลย์ ทองอร่าม -
  • ปิยวรรณ จันทร์ศิริ

คำสำคัญ:

ปรับปรุงประสิทธิภาพ, กระบวนการรับสินค้า, แผนภูมิการไหล พาเรโต, แนวคิดลีน, เทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูปด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล การวิเคราะห์แผนภูมิพาเรโต แนวคิดลีน และแนวคิด ECRS  และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติของฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัท ABC โดยการวิเคราะห์กระแสงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและศึกษากระบวนการทำงานจากการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับการวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล การวิเคราะห์แผนภูมิพาเรโต แนวคิดลีน กิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า รวมถึงกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ และหลักการ ECRS เพื่อจำแนกขั้นตอนที่สูญเปล่าและไม่จำเป็นออกจากกระบวนการและหาวิธีปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ไม่มีกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม แต่มีกิจกรรมที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มแต่จำเป็นต้องทำ 8 กิจกรรม แล้วนำมาวิเคราะห์ กิจกรรมเพิ่มคุณค่าและ ERCS จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนที่สามารถทำให้ง่ายขึ้นได้ทั้งหมด 6 ขั้นตอน โดยใช้เทคโนโลยีรถโฟล์คลิฟท์ระบบอัตโนมัติ (LGV Forklift) ผู้วิจัยจึงศึกษาออกแบบและวางแผนเส้นทางการเดินรถของรถยกระบบอัตโนมัติ พบว่า จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป สามารถลดต้นทุนในการทำงานได้ดังนี้ ระยะเวลาในการทำงานลดลง 188 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงิน 31,200 บาทต่อปี ผู้ปฏิบัติงานลดลง 4 คน คิดเป็นเงิน 1,476,929 บาทต่อปี ค่าเช่ารถยกลดลง 2 คัน คิดเป็นเงิน 396,000 บาทต่อปี ค่าบำรุงรักษารถยก 20,000 บาท/ปี ค่าสินค้าเสียหาย 8,740 บาทต่อปี รวมค่าใช้จ่ายที่ลดลง  1,912,869 บาทต่อปี

References

กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. (2565). การศึกษาการทำงานอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตแบบลีน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แบรนด์เอจ. (2566). อัพเดท ตลาดชาพร้อมดื่ม 13,299 ล้าน ทำไมถึงเติบโต 22%. สืบค้น เมษายน 12, 2566 จาก http://barndage.com/article/34154

ประจวบ กล่อมจิตร. (2557). เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในองค์กร : หลักการและตัวอย่างการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

_______. (2565). โลจิสติกส์ – โซ่อุปทาน : การออกแบบและจัดการเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิชญา จันทนา และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ (2563). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเซรามิค: กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 37(2), 58-83.

ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2563). ตลาดชาและผลิตภัณฑ์ชาของไทย. สืบค้น เมษายน 12, 2566 จาก https://api.dtn.go.th/files/v3/5f48d4a1ef414051e32f1a8e/download.

สุริยะ เลิศวัฒนะพงษ์ชัย. (2562). แปลงร่างธุรกิจด้วยลีน. กรุงเทพฯ: บีเอ็มจี. เบรกธรู เมเนจเม้นท์

Akkharaprathomphong, A. (2009). Waste Reduction by using ECRS. Retrieved on March 14, 2023 from https://cpico.wordpress.com/2009/11/29/%e0%b8%81%e0 %b8%b2

Kato, I., & Smalley, A. (2011). Toyata Kaizen Method: Six Steps to Improvement. Now York: Productivity Press.

Meyers, F.E., & Stewart, J.R. (2002). Motion and Time Study for Lean Manufacturing (3rd ed.) Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Warawonghiran, K. (2016). Process Efficiency Improvement for automotive parts production line. Master of Science Program Thesis in Logistics and Supply Chain Management Program Faculty of Logistics Burapha University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-10