พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชนตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชน, ยาเสพติดกับเยาวชน, ยาเสพติดในตำบลสนามแจงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความรู้เรื่องยาเสพติด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องยาเสพติดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชนตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษา คือ เยาวชนที่มีอายุเกิน 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปี จำนวน 176 คน และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 152 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t–test F-test การเปรียบเทียบเป็นรายคู่วิธีการของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) เยาวชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องยาเสพติดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชนในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับต่ำ (μ = 1.98, σ = 0.46) 3) การวิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชนจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เยาวชนที่มีเพศและระดับการศึกษาสูงสุดแตกต่างกัน มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่อง ยาเสพติด และปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พบว่า ความรู้เรื่องยาเสพติดมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับต่ำมากกับพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชน (r = -0.20, p-value = 0.01) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชน (r = 0.35, p-value = 0.001)
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์.
กานต์ชัญญา แก้วแดง. (2555). การเสริมสร้างการเรียนรู้การใช้ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติดโดยการ
มีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
คณะกรรมการกฤษฎีกา. (2544). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
จิราพร เพชรดา. (2554). ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น : กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก. นครนายก: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก.
จุฬาลักษณ์ สะตะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียน นักศึกษากลุ่มเสี่ยงของวิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา : ภายใต้โครงการค่ายเยาวชนต้นกล้าสายใยรักในการ แก้ไขปัญหายาเสพติด (กรมทหารราบที่ 16 ค่ายบดินทรเดชา จังหวัดยโสธร). ยโสธร: วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา.
ซูไมยะห์ ลาเต๊ะ, สุวรรณี เวาะมิ, สูไวบะห์ มะยาซิง, อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, และ สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์. (2564). การจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนบาราเฮาะ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ธัญรัศม์ ทองสุข, และ ทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2563, ธันวาคม). ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การสนับสนุนทางสังคมกับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของทหารกองประจำการ สังกัดกรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ กองทัพอากาศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 8, 142-158.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). รวมบทความ การวิจัย การวัดและประเมินผล (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุรฉัตร จันทร์แดง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงหลวงวิทยา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน, เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ, ชิดชนก เชิงเชาว์, และ อภิรักษ์ จันทวงศ์. (2564 ). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัว ปัจจัยความรู้ และปัจจัยกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมเสี่ยง ใช้สารเสพติดในการจำแนกกลุ่มเพศชายและเพศหญิงของเยาวชนไทย ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เอกสารเสนอต่อการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 วันที่ 26 มิถุนายน 2564, สงขลา.
พิชเยศ ชูเมือง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาคดียาเสพติด : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพบูลย์ มุทุสิทธิ์, ดาบตำรวจ. (2566, กุมภาพันธ์ 12). ผู้บังคับหมู่ สถานีตำบลภูธรบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่
จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์.
ยอดชาย ภูพานไร่. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาในพื้นที่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รอซีดะห์ มะสะแม. (2554). การใช้ยาเสพติดของผู้ติดสารเสพติดของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลาวัลย์ นาคดิลก. (2561, มกราคม-เมษายน). แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยของเยาวชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(1), 163-172.
โลน่า โมลิกา. (2550). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมพร เทพสิทธา. (2542). บทบาทขององค์กรเอกชนในการแกไขปัญหาเยาวชน. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.
สุจิตตา ฤทธิมนตรี, และ มานพ คณะโต. (2557, เมษายน–มิถุนายน). พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดผิดกฎหมายในวัยรุ่น และผลกระทบด้านสุขภาพ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2(2), 141-151.
สุวพันธุ์ คะโยธา, และ วุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2561, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตเทศบาลนครสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 84-95.
อาภาศิริ สุวรรณานนท์, และคนอื่น ๆ. (2550). ปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการติดยาเสพติดซ้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด.
Spiegler, M.D., & Guevremont, D.C. (1998). Contemporary behavior therapy. (3rd ed.). Pacific Grove, CA : Brooks/Cole.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.