การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพร อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, กิจกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อสำรวจบริบทด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพร อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมการสื่อสารทางการตลาดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพร อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพร อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพรเป็นชุมชนตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง มีทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่ ตลาดชุมชนท่าน้ำวัดมะเดื่อชุมพร ล่องเรือแม่น้ำแม่ปิง เรียนทำขนมไทย สปาเพื่อสุขภาพและนวดแผนไทย หลวงปู่หาดวัดมะเดื่อชุมพร วัดเกาะตำแย ศาลเจ้าพ่อเสือ สวนมะม่วงในชุมชน รีสอร์ทและร้านอาหารริมแม่น้ำปิง 2) หลังจากการถ่ายทอดนวัตกรรมสื่อสารทางการตลาดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้เห็นความสำคัญของการถ่ายทอดนวัตกรรมจากพื้นที่สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและนำไปสู่การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนมะเดื่อชุมพร และ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านมะเดื่อชุมพรสอดรับกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น กิจกรรมการท่องเที่ยวไหว้พระ กิจกรรมการล่องห่วงยาง กิจกรรมเรียนทำขนมไทย กิจกรรมเชิงส่งเสริมสุขภาพ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565. Retrieved from https://www.mots.go.th/news/category/657
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). (ร่าง) ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569 วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ท่องเที่ยวชุมชนบนเส้นทางเรียนรู้. วารสารวัฒนธรรม, 56(4), 6-21.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จังหวัดกำแพงเพชร. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐. กำแพงเพชร: จังหวัดกำแพงเพชร.
ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว. Retrieved from https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-in-action/
พรพจน์ ศรีดัน. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการนวัตกรรมทางสังคมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). Retrieved from http://www.cusri.chula.ac.th/wp-content/uploads/2022/12รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการนวัตกรรมทางสังคม.pdf
รัตติยา เหนืออำนาจ พระเทพปริยัติเมธี และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). การพัฒนาตัวแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 72-88.
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. นนทบุรี: บริษัท ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. Retrieved from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=581
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2566). BCG เป็นมาอย่างไร. Retrieved from https://www.bcg.in.th/background/
สุขุม คงดิษฐ์ วรรษา พรหมศิลป์ ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ จิดาภา เร่งมีศรีสุข และ ธารณี นวัสนธี. (2560). รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(4), 314-326.
สุพัตรา ราษฎร์ศิริ. (2562). การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษา บ้านรักไทย แม่ฮ่องสอน.
มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุภางค์ จันทวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2556). ทุนทางสังคมกับแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชาวไทยพวน อ.ปากพลี จ.นครนายก. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 225-235.
โอปอล์ รังสิมันตุชาติ และทิพาพร โพธิ์ศรี. (2564). การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 355-369.
González-Morcillo, S., Horrach-Rosselló, P., Valero-Sierra, O., & Mulet-Forteza, C. (2022). Forgotten effects of active tourism activities in Spain on sustainable development dimensions. Environment, Development and Sustainability. doi:10.1007/s10668-022- 02503-3
Ohridska-Olson, R. V., & Ivanov, S. (2010). Creative Tourism Business Model and its Application in Bulgaria. Institutions & Transition Economics: Microeconomic Issues eJournal.
Richards, G. (2017). Creative tourism: opportunities for smaller places? Tourism & Management Studies, 15. doi:10.18089/tms.2019.15SI01
Sinha, P. C. (1997). International encyclopaedia of tourism management (Vol. 12). New Delhi Anmol Publications
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.