การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชียงรายด้วยเกม 2 มิติ

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ดอนแก้ว -
  • ดุลยฤทธิ์ วงค์ชัย
  • เศรษฐชัย ใจฮึก

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, สื่อประชาสัมพันธ์, เกม 2 มิติ

บทคัดย่อ

       งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมสื่อประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดเชียงราย 2) ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดเชียงรายด้วยเกม 2 มิติ 3) วัดประสิทธิภาพการให้ความรู้จากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผลิตขึ้น  และ 4) ประเมินความพึงพอใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผลิตขึ้น มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 50 คน โดยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมสื่อประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดเชียงราย และผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ หลังจากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่าความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก และหลังจากทำการวัดประสิทธิภาพการให้ความรู้จากสื่อ พบว่าผลการทดสอบคะแนนของหลังเรียนนั้นสูงกว่า ก่อนเรียน ทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าเกม 2 มิติที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในจังหวัดเชียงรายส่งผลต่อความรู้ความและเข้าใจของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566

(Domestic Tourism Statistics (Classify by region and province 2023)). https://www.mots.go.th/news/category/704

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2559). Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 43(2). 127-136.

ณัฐภณ สุเมธอธิคม, อารักษ์ ใจรัก, ธนกร เย็นสายสุข และนิโลบล รังษีธรรมปัญญา. (2563). การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนคลองเตย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 3(2), 142-157.

ณัฐรียา ทองนพคุณ และคณะ. (2564). องค์ประกอบของมัลติมีเดีย. https://sites.google.com/site/bolearn15/xngkh-prakxb-khxng-maltimideiy

ธัญนันทร์ สัจจะบริบูรณ์, สุชารัตน์ จันทาพูนธยาน์, โกวิทย์ ชนะเคน และทิวากร ภู่งาม. (2563). การพัฒนาบทเรียนแบบเกมพิกเซลอาร์ต 2 มิติ เรื่องเมทริกซ์. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(37). 61-67.

ธนกฤต แดงทองดี. (2565). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism). https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/ecotourism/

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง และคณะ. (2564). การออกแบบเกมดิจิทัล. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2). 217-228.

ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1). 50-63.

ภิรญา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, พนธกร ลีลาปิยวัฒน์ และโชติกา ประทุมวัลย์. (2564). การพัฒนาสื่อเกมอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เรื่อง “เกมท่องกรุง”. https://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/4123

รักชน พุทธรังษี. (2560). การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิวา เสาร์สิงห์ และคณะ. (2563). การผลิตสื่อวีดิทัศน์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ป่าชาย เลนบางขุนเทียน”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1). 81-87.

วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทเกม เพื่อให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบและข้อปฏิบัติในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

หทัยชนก ยังสุข และภานุพงศ์ แสนจันทร์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30