แนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University
  • ไชยณัฐ ดำดี

คำสำคัญ:

เครือข่าย, คุณภาพชีวิต, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหาของเด็กและเยาวชน และนำเสนอแนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ผลการวิเคราะห์ พบว่า สถานการณ์และสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชน  มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ธุรกิจมีแนวโน้มปรับกระบวนการทำงาน โดยลดการพึ่งพาการใช้คน และลงทุนในเทคโนโลยี/ดิจิทัลมากขึ้นและความแตกต่างของช่วงวัย การสร้างเครือข่ายจึงเป็นแนวทางที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งปัญหาของเด็กและเยาวชนไม่สามารถแก้ไขได้สำเร็จโดยหน่วยงานเดียว โดยแนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 1) พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) สร้างเครือข่าย 3) ดำเนินการ และประเมินผลเครือข่าย โดยกลไกการทำงานเครือข่ายที่เกิดขึ้นควรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่มีรูปแบบการดำเนินการทั้งในเชิงนโยบายและการนำไปปฏิบัติ รวมถึงมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560  และหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการเข้าร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2566). ครม.รับทราบรายงาน โครงสร้างประชากรเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง. https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1085903

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ม.ป.ป.). โครงการขยายผลการพัฒนาฐานข้อมูลแบบออนไลน์ และเครื่องมือการประเมินความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2566). รายงานสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567 ไตรมาส 1 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กิตติวินท์ เดชชวนากร. (2564). ระดับของการตีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่.

วารสารสหวิทยาการ, 18(2), 81-123.

กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (ม.ป.ป.). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. ม.ป.ท.

เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับเครือข่าย. https://crccoalitionthailand.wordpress.com/about/

ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). เด็กและเยาวชนกับนวัตกรรม (สุขภาวะ) สังคม. เอซี ปริ้นติ้ง เซอร์วิส.

ธัญพิชชา สามารถ และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2566). การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ.

สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 1-13.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 119-127.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566ก). เครือข่ายนโยบายสาธารณะ: ความหมาย การวิเคราะห์เครือข่ายและกรณีศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(1), 115-136.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566ข). ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). ส่องตลาดแรงงานเด็กจบใหม่ยุคโควิด พบว่างงานเพิ่มเฉียดแสนราย. https://www.prachachat.net/finance/news-933876

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). สสส.เปิดเวทีครั้งแรก ดึงคนทำงานร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก-เยาวชน กทม.แบบไร้รอยต่อ เน้นป้องกันปัญหา 4 มิติ. https://mgronline.com/qol/detail/9660000063194

พระครูใบฎีกามณฑล เขมโก (ชูโตศรี). (2562). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 192-200.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. (2546, 2 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 95 ก. หน้า 1-26.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2551, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 9 ก. หน้า 1-14.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 13 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 63 ก. หน้า 1-12.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 364-373.

ลักษิกา เงาะเศษ. (2565). ต้นทุนชีวิต: ภาพสะท้อนระบบนิเวศของเด็กและเยาวชนไทยในรอบ 12 ปี. https://shorturl.asia/XJN2S

วาสนา มะลินิน และนภัทร์ แก้วนาค. (2563). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคมสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในสังคมไทย. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 415-428.

ศรีเสด็จ กองแกน และภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). วิเคราะห์นโยบายการขับเคลื่อนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(2), 43-54.

ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น บนฐานเครือข่ายความร่วมมือกรณีศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (ม.ป.ป.). รู้จักมูลนิธิ. https://www.thaichildrights.org/

สมพงษ์ จิตระดับ. (2562). การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 357-377.

Crawford, M. (2020). Ecological Systems Theory: Exploring the Development of the Theoretical Framework as Conceived by Bronfenbrenner. Journal of Public Health Issues and Practices, 4(2), 1-6.

Save the Children. (2565). เปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังมุ่งมั่นทำงานช่วยเหลือเด็กในประเทศไทยมากว่า 40 ปี. https://shorturl.asia/byAGZ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30