แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี หลังสถานการณ์โควิด – 19
คำสำคัญ:
แรงจูงใจดึงดูดและผลักดัน, นักเที่ยวชาวไทย, สวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรีบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี หลังสถานการณ์โควิด – 19” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรีหลังสถานการณ์โควิด – 19 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี หลังสถานการณ์โควิด – 19 จำนวน 400 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกหรือบังเอิญ (Convenient or accidental Sampling) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) เนื่องจากผู้วิจัยไม่ทราบจำนวนประชากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี หลังสถานการณ์โควิด – 19 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุตั้งแต่ 21 – 30 ปี มีสถานภาพโสด กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 10,000 บาท และ 2) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี หลังสถานการณ์ โควิด – 19 มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีแรงจูงใจดึงดูดในการเดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อชื่นชมสวนดอกไม้นานาชนิดและความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวชาวไทยมีแรงจูงใจผลักดันในการเดินทางมาท่องเที่ยวไปยังในสถานที่ที่ตนเองยังไม่เคยไป
References
กมลชนก. (2560). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว: บทที่ 5 แรงจูงใจในการท่องเที่ยว. http://kamonchanok001.blogspot.com/p/5.html
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). สวนนงนุช. https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ สวนนงนุช
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). บทบาทของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจโดยรวมของ
ประเทศ. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T12205.pdf?
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดลยา จาตุรงคกุล. (2565). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภายใต้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 9 - 14.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏ อุบลราชธานี.
บริสุทธิ์ แสนคำ. (2560). ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไร่ปลูกรัก
อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2560 (หน้า 2268 – 2272). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์, สิปปวิชญ์วงศ์สุวัฒน์ และศิริกัญญา ทองเส้ง. (2565). ศึกษาแรงจูงใจของ
นักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา
ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(2), 64 – 66.
วิมลพรรณ คงแก้ว. (2558). กระบวนการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวหญิงแบบสะพายเป้. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สวนนงนุชพัทยา. (2566). เกี่ยวกับสวนนงนุชพัทยา. https://www.nongnoochpattaya.com/th/about
สวนนงนุชพัทยา. (2566). มั่นใจปลอดภัยโควิดกับสวนนงนุชพัทยา มาตรการคุมเข้ม Covid – 19.
https://www.nongnoochpattaya.com/th/covid-19
สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2564). จังหวัดชลบุรี. http://www.chonburi.go.th/website/about_chonburi/about2
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.