ปัจจัยการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง

ผู้แต่ง

  • ผจงจิต ติ๊บประสอน -
  • จารุจรรย์ พรมจันทร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • กาญจนา ปิงเมือง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • พิมพ์กานต์ วงค์วารใจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • ธัญญรัตน์ ใจน้อย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คำสำคัญ:

การติดต่อสื่อสารในองค์การ, กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์, สำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการติดต่อสื่อสาร
ในองค์การที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง จำนวน 118 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ค่าสถิติ F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปางที่สังกัดส่วนงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปางแตกต่างกัน และปัจจัยการติดต่อสื่อสารในองค์การ
ด้านผู้รับสารและด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับส่งผลต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง

References

จิราวรรณ ยิ้มปลื้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ. (สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐพล เทียนหอม. (2562). รูปแบบวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความคิดเห็นของบุคลากรคนไทยใน บริษัทเอสซีจี ยาโมโตะ เอ็กซ์เพรส. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(2), 299-316.

ดำรง คำวงค์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคิดเห็นของบุคลากรในบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

นงนภัส ภิญโญ. (2562). ปัจจัยการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ส่งผลต่อกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มาริษา สุจิตวนิช และ สหรัฐ อ่อนดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของสำนักงานอธิบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 (สาขาวิชานิเทศศาสตร์) วันที่ 7- 8 กรกฎาคม 2565 (น.3). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุดารัช ชัยศรี และ ภาวิน ชินะโชติ. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และการพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 2(8), 33-45.

สุภาพร แสงสมาน. (2564). อนาคตภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันติ อุดมฤทธิ์. (2562). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจที่ปรึกษาด้านแรงงานในจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิตการจัดการธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง. (2566). ประวัติความเป็นมา. https://www.rd.go.th/region/08/lampang/280

อุมาภรณ์ จันทร์จุฬา. (2562). อิทธิพลของปัจจัยบรรยากาศภายในองค์การ และกระบวนการสื่อสารภายในองค์การที่มีต่อประสิทธิผลในการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ 107(33), 235-246.

อำภาพร จิรธรรมโอภาส. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรครูโรงเรียนทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2th Ed). Harper and Row.

Garett. (1965). Testing for teachers. Van No strand Reinhold.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30