คุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ภายใน บริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด
คำสำคัญ:
คุณภาพในการให้บริการ, ความคิดเห็นของพนักงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ภายในบริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในบริษัท จำนวน 170 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ภายในบริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 6 ปี และเมื่อแยกตามวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความมั่นใจได้ และด้านบริการที่เป็นรูปธรรม ส่วนด้านความน่าเชื่อถือในมาตรฐานคุณภาพ และด้านการตอบสนองต่อการให้บริการมีค่าเฉลี่ยเท่ากันตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการเมื่อจำแนกตามเพศไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อแยกตามอายุ ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (ม.ป.ป). ข้อมูลนิติบุคคล. https://shorturl.asia/7eDik
กัญญณ์พัชร เหมือนจินดา. (2563). คุณภาพในการให้บริการของจุดชำระเงิน งานการเงิน และบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานการเงินและบัญชีกองกลาง สำนักงานอธิการบดี.
ณฐดล สังฆมณี และฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์. (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 18).
กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนดี.
พนิตสุภา ธรรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ (SERVICES MARKETING). ลพบุรี :
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมา
ใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
วิลาสินี จงกลพืช. (2563). คุณภาพการให้บริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์กรณีศึกษา บริษัท เอ็น เค แลบอราทอรี(ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริญญา คลื่นแก้ว. (2564). ความคิดเห็นในคุณภาพการให้บริการของผู้โดยสารรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม. (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อริสรา อินทรขุนทศ, อภิชาติ ใจอารีย์ และประสงค์ ตันพิชัย. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานระดับปฏิบัติการ โรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 1083 – 1097.
อารยา ลิมทวีสมเกียรติ. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Nail Spa ของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
Kotler. (1997). Marketing Management. Singapore: Prentice-Hall.
Kotler, & Keller. (2012). Marketing Management. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
Parasuraman, et al. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer Perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Wenjun Jiang. (2561). การศึกษาปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลคุณภาพการให้บริการและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคชาวจีนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.