การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนวชิรราษฎร์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ ไตรรัตน์ -
  • จิดาภา เอี่ยมสำอางค์
  • นันทิมา อัศวรักษ์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการเวลาหน้าจอ, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนวชิรราษฎร์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 103 คน ได้มาจากการคำนวณตามสูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน จำนวน 25 ข้อ โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการบริหารจัดการเวลาหน้าจอ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมก้าวร้าว อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) การบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ทางลบ ระดับต่ำ (Correlation Coefficient = -.011) สรุปได้ว่า การบริหารจัดการเวลาหน้าจอไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว

References

จริยา ทองเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในกลุ่มสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ อำเภอเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัชชา ศรีมหาพรหม. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 86.

ตฤณห์ โพธิ์รักษามหาพรหม. (2565). อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็ก และเยาวชน.

วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิชาการ, 5(2), 97.

เบญจภรณ์ ขวัญสมคิด และปวรวรรณ พันแจ่ม. (2555). พฤติกรรมการใช้มือถือ Smartphone และการใช้เวลาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

(จุลนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

สรานนท์ อินนนท์. (2562). การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล. ปทุมธานี : บริษัท วอล์ค ออน คลาวด์ จำกัด.

____________. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล. ปทุมธานี: บริษัท วอล์ค ออน คลาวด์ จำกัด.

สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30