แพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันในการจองมัคคุเทศก์
คำสำคัญ:
นักท่องเที่ยว, มัคคุเทศก์, Dart, Flutter, Collaborative Filtering, WARPบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันในการเลือกมัคคุเทศก์ ใช้วิธีการศึกษาตามหลักการของวงจรชีวิตในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ผลการศึกษา ปัญหาของนักท่องเที่ยว ไม่สามารถเลือกมัคคุเทศก์ตามที่ต้องการ ศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ด้านการปฏิบัติงาน และด้านกฎหมาย ความต้องการนักท่องเที่ยว อยากได้ระบบที่หามัคคุเทศก์ที่ตนเองชอบ และเป็นมัคคุเทศก์ที่ถูกกฎหมาย การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน โดยใช้ Dart และ Flutter Framework ประกอบด้วย การลงทะเบียน การยืนยันตัวตน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและยืนยันสถานะของมัคคุเทศก์ การเลือกมัคคุเทศก์ใช้วิธี Collaboration Filtering โดยใช้ข้อมูล 3 ชุด ได้แก่ 1. ข้อมูลนักท่องเที่ยว 2. ข้อมูลคะแนนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อมัคคุเทศก์ 3. ข้อมูลมัคคุเทศก์ ประมวลผลแบบจำลอง ใช้ Loss Function ด้วยวิธี WARP (Weighted Approximate-Rank Pairwise) ผลการพัฒนาแบบจำลอง แสดงข้อมูลคะแนนความพึงพอใจนักท่องเที่ยวต่อมัคคุเทศก์สูง กับ คะแนนที่แนะนำมัคคุเทศก์ที่มีระดับคะแนนความคล้ายคลึงกัน ด้วยค่าความถูกต้องร้อยละ 72.22 ผลการประเมินการใช้งานของโมบายแอปพลิเคชัน จากนักท่องเที่ยวจำนวน 40 คน ระบบสามารถแนะนำมัคคุเทศก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพ และการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน คะแนนเฉลี่ย 4.34 และ 4.36 ตามลำดับ ในการศึกษาขั้นต่อไป การตรวจสอบและยืนยันสถานะของมัคคุเทศก์จากกรมการท่องเที่ยว สนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกมัคคุเทศก์แก่นักท่องเที่ยวให้ความพึงพอใจสูงสุด
References
กาญจนา จันทรชิต, พิมพ์พาภรณ์ สุทธหลวง, ธัญลักษณ์ โกษาเวียง และศุภชัย ธรรมสุปรีดิ์. (2565).
การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวแล้วหรือยัง?. http://www.fpojournal.com/thai-tourism-situation/
ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง. (2563). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และระดับ นานาชาติ ครั้งที่ 2 “วิทยาการจัดการวิชาการ 2020” วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 (น. 1264 - 1273). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ไทยพาณิชย์. (2565). PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องรู้. https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/pdpa-about-us.html.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). มัคคุเทศก์เถื่อน. https://www.thairath.co.th/news/local/1246179
ประชาชาติธุรกิจ. (2563). ไกด์เถื่อนต่างชาติภูเก็ตนับพัน ชมรมมัคคุเทศก์จี้รัฐบาลกวาดล้างทั้งเครือข่าย. https://www.prachachat.net/local-economy/news-408155
นาลี เอืองแสงพระจันทร์, ณัฐวุฒิ ศรีวิบูลย์, เจษฎา สิงห์ทองชัย และอัจฉรา สุมังเกษตร. (2565). การพัฒนา แอปพลิเคชันส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Journal of Information Science and Technology, 12(1). 81-88.
พรพิสุทธิ์ ภมรศิริตระกูล. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่พึงประสงค์ต่อการ ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย: ศึกษากรณีตลาดน้ำ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เอกรินทร์ วทัญญเลิศสกุล. (2563). พัฒนา Mobile App ด้วย Flutter & Dart. กรุงเทพฯ:
บริษัทโปรวิชั่น จำกัด.
Aggarwal, C. C. (2016). Recommender systems. Springer Cham Heidelberg New York Dordrecht London.
IBM. (n.d). What is mobile application development?. https://www.ibm.com/ topics/mobile-application-development
Moneyhub. (2559). ธุรกิจท่องเที่ยวจะเฟื่องฟูหรือฟุบ เมื่อต้องเจอกับ ไกด์ผี-ทัวร์เถื่อน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.