การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อตลาดหัวปลี ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณวิสา วงษพันธ์ -
  • สุนิสา โพธิ์พรม

คำสำคัญ:

ตลาดหัวปลี, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว, ผลิตภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี 2) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดหัวปลี 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดหัวปลี และ 4) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์เจ้าของตลาดและบุคลากรตลาดหัวปลี จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567

          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลีในปัจจุบันใช้วิธีการสื่อสารหลากหลาย เช่น สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ และมีทั้งรูปแบบฟรี ขอความร่วมมือ และเสียค่าใช้จ่าย 2) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักตลาดหัวปลีจากการบอกต่อ    เฟซบุ๊ก เคยมาเที่ยวตลาดหัวปลี 2 – 3 ครั้ง ส่วนใหญ่มาเที่ยวกับครอบครัว จุดมุ่งหมายหลักคือหาอาหารรับประทาน มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 500 บาทขึ้นไป มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลีโดยการถ่ายภาพเช็คอิน 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ การตกแต่งสถานที่สวยงาม สะอาด ร่มรื่น, พ่อค้าแม่ค้ายิ้ม ให้การต้อนรับด้วยมิตรไมตรี และมีมุมให้นั่งพักผ่อน มุมรับประทานอาหาร         4) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์กับออฟไลน์  มีการสร้างช่องทางการสื่อสารหรือมีสื่อเป็นของตนเอง การจ้างหรือเสียค่าใช้จ่าย และสื่อที่มีผู้คนนำไปแชร์หรือบอกต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หมั่นปรับปรุงภูมิทัศน์ของตลาดให้มีความสวยงามอยู่เสมอ

References

กฤตยภัทร ธรรมรุจี. (2564). การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาการจัดการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏรำไพพรรณี.

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. (2559). คู่มือ การดำเนินงานโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น “ตลาดต้องชม”. กองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด กรมการค้าภายใน.

ชวัลนุช อุทยาน. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. https://touristbehaviour.wordpress.com/1/

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์

เนชั่นบุ๊คส์. (2564). การตลาด 5.0 MARKETING 5.0. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์.

พัชราภรณ์ บุญเลื่อง และทักษญา เปรมชุติวัต. (2561). ปัจจัยด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการกลับมาเที่ยวซ้ำยังแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา.

https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17523

มาลินี คำเครือ และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อ พฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. file:///C:/Users/com/Downloads/186630-Article%20Text-543359-1-10- 20190430.pdf

รัฐวิชญ์ ชัยศิริ (2562). การศึกษา 5 เสนหวิถีชุมชนที่มีต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวตลาด

หัวปลีศูนยโอทอป (OTOP) คอมเพล็กซพุแค ตําบลพุแค อําเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัด สระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). http://ithesis- ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2857/1/60602719.pdf

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. https://www.randdcreation. com/content/5112

วรรัฏฐ์ แก้วไพรินทร์. (2564). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อวัดในตำบลคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4978/1/vorrarat_kaeo.pdf

สวิตา อยู่สุขขี และอรคนางค์ นวลเจริญ (2562). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP

นวัตวิถี บ้านพุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์ 36(2), 83-98.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ม.ป.ป.). วิถีชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานราก: ตลาดชุมชน. กรุงเทพฯ: จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น.

สำราญ แสงเดือนฉาย. (2563). การออกแบบสารในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ MESSAGE DESIGN IN NEW NORMAL. https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/CommArts-Article21

อรอนงค์ เฉียบแหลม และจันทิรา รัตนรัตน์. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาเยือนชุมชนท่องเที่ยว บ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จงหวัดกระบี่. WMS Journal of Management Walailak University, 8(4). 42-54

s.prasoptham. (2565). Word of Mouth Marketing พลังแห่งคำพูด สร้างโอกาสขายให้ธุรกิจ. https://blog.lnwshop.com/2022/09/22/word-of-mouth-marketing/

Cohen, E. (1979). A Phenomenology of Tourist Experience. Sociology, 13, 179-201.

Grigoroudis, E. (2009). Customer satisfaction evaluation. New York : Springer

Perreault, W. D., Dorden, D.K. and Dorden, W.R. (1979).A Psychological Classification of Vacation Lifestyles. Journal of Leisure Research, 9. 208-224.

Swarbrooke, J. and Horner, S. (1999). Consumer behavior in tourism. Butterworth Heinemann, Oxford. A division of Reed Educational and Professional Publishing., Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วงษพันธ์ ว., & โพธิ์พรม ส. (2024). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อตลาดหัวปลี ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วารสารร่มยูงทอง, 2(3), 37–55. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4277