รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษา โรงแรมโรงแรมพรรณราย จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กรรณิการ์ ศรีไชยโยรักษ์
ณัฐกานต์ รุ่งเรือง
ปริชญา อุดมผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ และกระบวนการ ของธุรกิจโรงแรม จังหวัดอุดรธานี 2) ตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมพรรณราย อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 327 คน ถูกสุ่มมาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.603 - 0.748 และ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในแต่ละด้านทั้งในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.2977) รองลงมาคือ ด้านบุคคล และ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.2854) และ (gif.latex?\bar{x} = 4.2752) ตามลำดับ 

  2. รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของธุรกิจโรงแรม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ดังนี้ gif.latex?x^{2} = 133.05, p value = .067, gif.latex?x^{2}/df. = 1.21, RMSEA = .025 RMR = .029 NFI = .99 NNFI = 1 GFI = .96 AGFI = .93 ซึ่งองค์ประกอบที่ถูกอธิบายความแปรปรวนได้สูงที่สุด คือ ราคา คิดเป็นร้อยละ 98 รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์และกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ 97 เท่ากัน

Article Details

How to Cite
ศรีไชยโยรักษ์ ก., รุ่งเรือง ณ., & อุดมผล ป. (2023). รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษา โรงแรมโรงแรมพรรณราย จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 15–30. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1749
บท
บทความวิจัย

References

กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2564, จาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4524/ Kanokpan_S.pdf?sequence=1.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). ธุรกิจโรงแรมปี 64 ยังซบ คาดฟื้นตัวปี 65 – 66. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thansettakij.com/business/470304.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานแนวโน้มธุรกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาศที่ 4 ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/Pages/BusinessTrendReport.aspx.

ธิตินันธุ์ ชาญโกศล. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณค่าตราสินค้าในใจผู้ใช้บริการธุรกิจค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 22-35.

พิมพ์ลภัส ณ.วิชัย และ อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ (2560). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการบริหารประสบการณ์ของลูกค้าที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า กลุ่มโรงแรมแกรนด์เซนเตอร์พอยต์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 68-90.

โพสต์ทูเดย์. (2561). รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-263966.

มนัสนันท์ ปงอ้อคำ และคณะ. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในธุรกิจโรงแรมของนักท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(1), 144-157.

มาริสา สุโกศล หนุนภักดี. (2564). ท่องเที่ยวกระทบหนัก เมื่อโควิดลากยาว! จุฬาฯ ถอด 4 กลยุทธ์สูตรรอดธุรกิจโรงแรม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.brandbuffet.in.th/2021/08/chula-quick-mba-for-hotel-business/.

รัชกร โชติประดิษฐ์และคณะ. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของส่วนผสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการเลือกเข้าพักที่โรงแรม จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วารสารสมาคมวิจัย, 20(2), 94-103.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2563). ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ, 7(2), 277-291.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

ศิริวรรณ เสรีรตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2546). Service Marketing. กรุงเทพฯ: NUT REPUBIC.

สิรินทิพย์ ฉลอง. (2563). ธุรกิจโรงแรม. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคบริการ ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.

โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ(บีทีเอส)ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ส่วนประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ. (2561). บทวิเคราะห์ธุรกิจ. กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201909.pdf.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey:

Atitayabhorn Prasanphanich. (2562). The Marketing Mix (4Ps) and Benefits of Online Control. 15th Global Ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall. ed. Boston McGraw -Hill.

Etzel, Michael J.; Walker, Bruce J.; & Stanton, William J. (2007). Marketing. 14th Kotler, P. (2016). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and model.html.Pearson Prentice Hall.Province. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 3-15.

SMEleader. (2564). 7 กลยุทธ์ทำธุรกิจโรงแรมให้ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.smeleader.com/.

THbusinessinfo. (2558) .(Online). http://thbusinessinfo.blogspot.com/2015/02/6w-1h- Travel Agency (OTA) in Marketing Promotions of the Hotels in Nakhon Phanom สืบค้นจาก. https://www.smeleader.com/7