การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค เขตนครไกสอนพมวิหาน สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

Main Article Content

พุดทะสอน สิลิโพไช

บทคัดย่อ

เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เขตนครไกสอน พมวิหาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค เขตนครไกสอนพมวิหาน สปป.ลาว จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อผ่านทางแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย เหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ คือ ความสะดวกสบาย สื่อออนไลน์ (การไลฟ์สด) เป็นสื่อในการกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าอออนไลน์ ซึ่งในแต่ละเดือนผู้บรโภคตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน แอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด คือ เฟสบุ๊ค เนื่องจากเฟสบุ๊ค เป็นแอปพลิเคชันที่กลุ่มคนส่วนมากรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมลาวปัจจุบัน จำนวนเงินในการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ระหว่าง 50,000-100,000 กีบ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญและเห็นด้วยในระดับมาก คือ การค้นหาข้อมูลและสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลและสินค้าได้อย่างหลากหลาย ในการศึกษาปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจในครั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มปัจจัยได้ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาด และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ชีเอ็ดยูเคชั่น.

กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อบผ่านทางแอปพลิเคชันอินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยวัฒน์ วิชัยวงศ์ และ ทิพย์รัตน์ แสงเรืองรอบ. (2562). อิทธิพลของปัจจัยบุคลิกภาพ ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยความคุ้มค่าที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจชื้อสินค้าในพื้นที่ธุรกิจกรุงเทพมหานคร ผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างโซเซียวคอมเมิร์ซกับอีคอมเมิร์ซ. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(1), 6-14.

ณัฐกานต์ กองแก้ม. (2559). พฤติกรรมการชื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ แอปพลิเคชั่น Shopee ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บวรลักษณ์ เสนาะคำ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจชื้อสินค้าผ่านเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 43-52.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล. (2557). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2552). หลักการตลาด (สมัยใหม่). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทามาศ จันทรถาวร และณกมล จันทร์สม. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบน Facebook ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

โสภิดา รัตนสมโชค และคณะ. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันทา วงศ์จตุรภัทรา และสิงหะ ฉวีสุข. (2555). ทฤษฏีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักการพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 1. (2562). ภาพรวมเศรษฐกิจ สปป ลาว. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.