สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี

Main Article Content

วารุณี ฤทธิขจร
กุสุมา ดำพิทักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการและพนักงานราชการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและบัญชี จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมีสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากในทุกด้านสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านทัศนคติในวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะของงาน และด้านความก้าวหน้าในงานส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกมณี หอมแก้ว, สุนิษา ภู่สงค์ และวรงรอง ศรีศิริรุ่ง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบัญชีของนักบัญชีไทย. คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

กัญญนันท์ บันลือทรัพย์. (2561). ผลกระทบจากความเป็นมืออาชีพทางการบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

แห่งประเทศไทย. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2(2), 60-70.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

จิตติมา ขำดำ. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด.วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.

จุไรรัตน์ ศรีสัตตรัตน์. (2560). สมรรถนะนักบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ฐิติรัตน์ มีมาก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณและทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชี จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. หน้า 653-664. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธนิศร ยืนยง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 29-30.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2558). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง :กรณีศึกษาบริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรทิตา นวลละออง. (2561). ผลกระทบของความรู้ความสามารถและสมรรถนะหลักของนักบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำรายงานทางการเงิน : กรณีศึกษานักบัญชีในกรม

สรรพาสามิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพ์ ฉัตรเงิน และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการ วิทยาลัยสัตพล, 6(2), 162-171.

ภัสณที นุ่มประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานการเงินและบัญชีของหน่วยงานทหารในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66980.

Cooper, D., & Schindler, P. (2006). Business Research Methods. 11th edition. Now York: MeGraw-Hill.

Herzberg, Fredrick & Other. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Peterson. E.,& Plowman, E. G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. lrwin.