รูปแบบการดำเนินชีวิต และทัศนคติของกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นวาย ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศ

Main Article Content

วรัญญา ฮวบลอยฟ้า
วีรศักดิ์ ประเสริฐชูวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างกันของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นวายที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นวายที่มีอิทธิพลต่อการการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศและ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นวายที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายคือ มีช่วงอายุตั้งแต่ 22–42 ปี และรู้จักต้นไม้ฟอกอากาศ จากแบบสอบถามจำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล อันได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นจึงใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้การทดสอบหาความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regressions Analysis) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 267 คน (66.8%) โดยประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/พนักงานธนาคาร มีจำนวน 182 คน (45.5%) มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001– 20,000 มีจำนวน 161 คน (40.3%) และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 280 คน (70.0%) นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านทัศนคติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.63) และเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านความรู้สึก (gif.latex?\bar{x}=3.91) ปัจจัยด้านความเข้าใจ (gif.latex?\bar{x}=3.58) และ ปัจจัยด้านพฤติกรรม (gif.latex?\bar{x}=3.39) ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.95) และเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านความคิดเห็น (gif.latex?\bar{x}=4.18) ปัจจัยด้านความสนใจ (gif.latex?\bar{x}=3.84) และ ปัจจัยด้านกิจกรรม (gif.latex?\bar{x}=3.82) ตามลำดับ และการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.76) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน ได้แก่ รายได้ต่อเดือน และการศึกษาที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และด้านความรู้สึก มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยด้านรูปแบบการดำเนินชีวิต ได้แก่ ด้านความสนใจ ด้านความคิดเห็น และ ด้านกิจกรรม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ฟอกอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ วนิชพันธุ์. (2556). รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และเจเนอร์เรชั่น Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์ (Independent Study). การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251.

กิจจา อุ่นจิตต์. (2563). อิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำแร่บรรจุขวด (Independent Study). สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จีรนันท์ สุธิตานนท์. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้ากลุ่มเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น (Master’s thesis). วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จีรนันท์ สุธิตานนท์. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้ากลุ่มเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ดวงสมร หรั่งช้าง. (2562). ทัศนคติผู้มีอิทธิพลทางสังคม และส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). 30 สุดยอดต้นไม้ฟอกอากาศ มีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2126946.

เบญจรงค์ อินทรวิรัตน์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). เจาะพฤติกรรม Gen Y. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-211619.

ปรียานุช นภาแสง. (2564). การตัดสินใจเลือกซื้อต้นไม้ฟอกอากาศผ่านช่องทางออนไลน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลักษณ์นาราข์ พันวราสิน. (2553). เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ไอศกรีมวอลล์และไอศกรีมเนสท์เล่ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหานคร). (มปป). แรงงานรู้สู้โควิด. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal.

สรวิศ ต่างพันธุ์. (2563). ตลาดต้นไม้ฟอกอากาศเติบโต เปลี่ยนโลกให้สดชื่น. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก http://www.baankluayonline.co/report-airfiltering-plants/.

สวนดุสิตโพล. (2563). กิจกรรมยอดฮิต ช่วงโควิด - 19 ระบาด. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.mcot.net/view/OUK-Jlw.

อรกานต์ สุคนธวิโรจน์. (2560). ทัศนคติของกลุ่มคนเจนวายต่อความตั้งใจใช้บริการห้องพักโฮสเทล ในเขตกรุงเทพมหานคร (Independent Study). การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เอก เจริญศิลป์ และ นภัสวัลย์ เกิดนรินทร์. (2563). การใช้งานพันธุ์ไม้ช่วยลดมลภาวะทางอากาศเพื่อใช้ในโครงการคอนโดรักษ์สิ่งแวดล้อมในเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2020/NA20-092.pdf.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Jakkrit Siririn. (2018). Generation Why. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.salika.co/2018/10/30/generation-why/. Prentice-Hall.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2007). Customer behavior. 9th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Solomon, M. R. (1996). Customer behavior. 3rd ed. Englewood Cliffs. New York:

Workpointtoday. (2563). ต้นไม้ฟอกอากาศฮิตแรง “ญาญ่า” โดนแซวห้ามลงรูปคู่กับต้นไม้หลังจับต้นไหนราคาขยับหมด. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://workpointtoday.com/tree-air-purifier/