อิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้า บุคลิกภาพผู้บริโภค ที่มีความภักดีต่อตราสินค้า ของรองเท้ากีฬาผ้าใบ NIKE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้า บุคลิกภาพผู้บริโภค ที่มีความภักดีต่อตราสินค้าของรองเท้ากีฬาผ้าใบ NIKE กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ กลุ่มประชากรที่อาศัยหรือทำงานในกรุงเทพมหานคร ที่เคยมีประสบการณ์การในการสวมใส่รองเท้ากีฬาผ้าใบ NIKE จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามที่มีค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.968 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนามาคำนวณหาค่าต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้สถิติในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม คือ สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ บนระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และจากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้า, บุคลิกภาพผู้บริโภค มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของรองเท้ากีฬาผ้าใบ NIKE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัญญ์วรา ไทยหาญ, พวงเพ็ญ ชูรินทร์ และสิญาธร นาคพิน, (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 95-120.
ณัทชิสา เหลืองสุรงค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ ใหญ่ 5 ประการและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อน. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรินทร์ เทิดวงศ์วรกุล และสราวุธ อนันตชาติ, (2560). ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพผู้บริโภคบุคลิกภาพตราสินค้ากับการรับรู้คุณภาพและความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค. วารสารนิเทศศาสตร์, 35(2), 77-94.
อัฐสิทธิ์ เหมือนมาศ. (2564). Nike Refurbished โมเดลธุรกิจรองเท้ามือสอง ของแบรนด์กีฬายักษ์ใหญ่ตอบโจทย์ Circular Economy. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565 จาก https://www.salika.co/2021/04/18/nike-refurbished-circular-economy/.
อิสเรศ วงศ์เสถียรโสภณ. (2564). ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ: รายงานตลาดรองเท้าโลกระหว่างปี 2564-2574. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.2359.1.0.html.
Kotler, P. (1997). Marketing Management. 9th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. 14th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Marketeer Magazine. (2564). มูลค่าตลาดรองเท้ากีฬาผ้าใบ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก http://marketeer.co.th/2015/09/long-tao-wing/.
Oliver P. John and Sanjay Srivastava. (1999). The Big-Five Trait Taxonomy. 2nd ed. New York: Guilford (in press).
Patcha Uthitwannakul. (2010). Brand identity transformable fashion for working ages in Bangkok metropolis. Bangkok: Faculty of Find Arts, Chulalongkorn University.
Sportswear In Thailand. (2564). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าของกลุ่มวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก http://www.euromonitor.com.
Statista. (2564). Statistics and facts on Nike. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก http://www.statista.com/topics/1243/nike/.