กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยของร้านอาหารไทยเป็นภาษาจีนกรณีศึกษาจากแพลตฟอร์มเหม่ยถวน นครเซี่ยงไฮ้

Main Article Content

เข่ออวี้ สวี
กัลยาณี กฤตโตปการกิต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน โดยศึกษาจากชื่ออาหารบนแพลตฟอร์มเหม่ยถวน นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มีเกณฑ์การคัดเลือกชื่ออาหารจากร้านอาหารที่มีรายการอาหารมากกว่า 20 รายการและมีคะแนนภาพรวมของร้านมากกว่า 4.5 คะแนน พบจำนวน 4 ร้าน รวมรายการอาหารทั้งสิ้น จำนวน 207 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ชื่ออาหารไทยบนแพลตฟอร์มเหม่ยถวนแปลเป็นภาษาจีนด้วยกลวิธีการแปลต่อไปนี้ กลวิธีการแปลแบบตรงตัว กลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่ กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์ กลวิธีการแปลแบบใช้คำเทียบเท่า กลวิธีการแปลแบบเติมคำ กลวิธีการแปลแบบตัดความ กลวิธีการแปลแบบใช้คำกว้าง ๆ ทั่วไป และกลวิธีการแปลแบบแทนที่ด้วยวัฒนธรรมภาษาแปล โดยกลวิธีที่มีการใช้ในการแปลชื่ออาหารไทยมากที่สุด คือ กลวิธีการแปลแบบตรงตัว จำนวน 54 รายชื่อ รองลงมาเป็นกลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่ จำนวน 45 รายชื่อ ส่วนกลวิธีการแปลที่พบน้อยที่สุดคือ การแปลแบบแทนที่ด้วยวัฒนธรรมภาษาแปล จำนวน 6 รายชื่อ ผลสรุปจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กลวิธีการแปลแบบตรงตัวได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากสามารถคงความหมายดั้งเดิมของอาหารไทยได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภคชาวจีน ส่วนการตั้งชื่อใหม่ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ชื่ออาหารมีความน่าสนใจและเหมาะสมกับรสนิยมของตลาดจีน กลวิธีอื่น ๆ เช่น การทับศัพท์ หรือการใช้คำเทียบเท่า เป็นกลวิธีที่ใช้ในกรณีที่ชื่ออาหารไม่มีคำแปลตรงตัวในภาษาจีน หรือเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงได้ การศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการแปลชื่ออาหารจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาความหมายทางวัฒนธรรมและรสนิยมของผู้บริโภคทั้งในแง่ภาษาและบริบททางสังคมของประเทศจีน

Article Details

How to Cite
สวี เ., & กฤตโตปการกิต ก. (2025). กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยของร้านอาหารไทยเป็นภาษาจีนกรณีศึกษาจากแพลตฟอร์มเหม่ยถวน นครเซี่ยงไฮ้. วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ, 8(1), 122–139. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/cikkuhygj/article/view/4514
บท
การศึกษาด้านการสอนภาษาจีน