泰国餐厅菜名汉译策略研究:以上海美团外卖平台为例

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

可郁 徐
贤 郭

摘要

บทความนี้เป็นบทความวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน โดยศึกษาจากชื่ออาหารบนแพลตฟอร์มเหม่ยถวน นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มีเกณฑ์การคัดเลือกชื่ออาหารจากร้านอาหารที่มีรายการอาหารมากกว่า 20 รายการและมีคะแนนภาพรวมของร้านมากกว่า 4.5 คะแนน พบจำนวน 4 ร้าน รวมรายการอาหารทั้งสิ้น จำนวน 207 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ชื่ออาหารไทยบนแพลตฟอร์มเหม่ยถวนแปลเป็นภาษาจีนด้วยกลวิธีการแปลต่อไปนี้ กลวิธีการแปลแบบตรงตัว กลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่ กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์ กลวิธีการแปลแบบใช้คำเทียบเท่า กลวิธีการแปลแบบเติมคำ กลวิธีการแปลแบบตัดความ กลวิธีการแปลแบบใช้คำกว้าง ๆ ทั่วไป และกลวิธีการแปลแบบแทนที่ด้วยวัฒนธรรมภาษาแปล โดยกลวิธีที่มีการใช้ในการแปลชื่ออาหารไทยมากที่สุด คือ กลวิธีการแปลแบบตรงตัว จำนวน 54 รายชื่อ รองลงมาเป็นกลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่ จำนวน 45 รายชื่อ ส่วนกลวิธีการแปลที่พบน้อยที่สุดคือ การแปลแบบแทนที่ด้วยวัฒนธรรมภาษาแปล จำนวน 6 รายชื่อ ผลสรุปจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กลวิธีการแปลแบบตรงตัวได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากสามารถคงความหมายดั้งเดิมของอาหารไทยได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภคชาวจีน ส่วนการตั้งชื่อใหม่ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ชื่ออาหารมีความน่าสนใจและเหมาะสมกับรสนิยมของตลาดจีน กลวิธีอื่น ๆ เช่น การทับศัพท์ หรือการใช้คำเทียบเท่า เป็นกลวิธีที่ใช้ในกรณีที่ชื่ออาหารไม่มีคำแปลตรงตัวในภาษาจีน หรือเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงได้ การศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการแปลชื่ออาหารจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาความหมายทางวัฒนธรรมและรสนิยมของผู้บริโภคทั้งในแง่ภาษาและบริบททางสังคมของประเทศจีน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
中文教育