เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

วารสารธรรมเพื่อชีวิต รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความ 3 ประเภทได้แก่ บทความวิจัย (Original Research article) บทความวิชาการ (Academic Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Reviwe) โดยรับบทความที่มีต้นฉบับเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เท่านั้น ทั้งนี้บทความต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในกระบวนการตอบรับหรือปรับปรุงในวารสารอื่นใด ตลอดถึงการพิจารณาในกระบวนการใด ๆ ของวารสารอื่น และกองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบและส่งผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชานในสาขานั้น ๆ 3 ท่าน เพื่อปรับปรุงให้ได้คุณภาพดีที่สุด โดยผู้แต่งต้องติดตามและปรับปรุงบทความด้วยตนเอง ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับ และต้องผ่านการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และ CopyCatch (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) โดยผลการตรวจต้องไม่สูงเกินกว่าร้อยละ 20 รวมถึงการจัดลำดับในการตีพิมพ์ตามความเหมาะสมและถือว่าเป็นการสิ้นสุดก่อนการเผยแพร่ต่อไป

          การอ้างอิงพระไตรปิฏก อรรถถา ในระบบไทย และ บาลี ให้ อ้างอิงในโดย ระบุ องค์กร ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมาย (;) และให้ใส่อักษรย่อคัมภีร์ ตามด้วยวงเล็บ (บาลี) หากเป็นฉบับบาลี หรือ (ไทย) หากเป็นฉบับไทย แล้วตามด้วย เล่ม/ข้อ/หน้า  ตัวอย่าง

(ชื่อองค์กร,/ปีที่พิมพ์;/ตัวย่อคัมภีร์./เล่ม/ข้อ/หน้า.)

(มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2539; ขุ.ส. (ไทย). 4/32/27)

การอ้างอิงท้ายเรื่องให้ ระบุองค์กร ปีที่พิมพ์ ชื่อฉบับพระไตรปิฎกหรือชื่อคัมภีร์หรือชื่อพระสูตร เล่มที่ จังหวัด และ โรงพิมพ์ ตัวอย่าง

องค์กร./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อฉบับพระไตรปิฎกหรือชื่อคัมภีร์หรือชื่อพระสูตร./จังหวัด./โรงพิมพ์.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย.

 

การเตรียมต้นฉบับเพื่อขอรับการตีพิมพ์เผยแพร่

ผู้เขียนต้องเตรียมต้นฉบับบทความให้เป็นไปตามกำหนดรูปแบบของวารสารดังต่อไปนี้

รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับบทความมีความยาวตั้งแต่ 2500 คำ – 8,000 คำ หรือ โดยประมาณ หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมอ้างอิง) พิมพ์หน้าเดียวจำนวน 8-25 หน้า ด้วยอักษรภาษาไทย ใช้ฟร้อน (TH SarabunPSK) อักษรภาษาอังกฤษ ใช้ฟร้อน (Front for English use Calibri) ตั้งหน้ากระดาษ วางตรงกลางกระดาษ1.5 นิ้ว ขอบล่างและขอบขวา 1 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัด เท่ากับ 1 เท่า โดยไม่เว้นระยะห่างระว่างบรรทัดยกเว้นการขึ้นต้นหัวข้อหลักที่มีตัวเลขข้อกำกับโดยให้ระยะห่างก่อนและหลังที่ 6 pt
  2. ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการณีเป็นบทความภาษาอังกฤษให้ใช้เฉพาะชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ (Calibri) ขนาด 18 pt ตัวหนา
  3. ชื่อผู้แต่งต้องมีชื่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากเป็นชาวต่างชาติให้ใส่เฉพาะชื่อภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยไม่มีคำนำหน้านาม ราชทินนาม ยศ ตำแหน่ง ยกเว้นพระสงฆ์คงให้มีคำนำหน้านามเป็นปัจจุบันตามสมณะศักดิ์หรือขึ้นด้วยคำว่า “พระ” เท่านั้นและสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลังการเผยแพร่ทุกรณี หากเป็นพระสงฆ์ต่างชาติไม่ว่านิกายใดประเทศใดให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “Ven.” ซึ่งเป็นคำย่อจาก Venerable โดยชื่อใช้ขนาดอักษรภาษาไทย 16 pt ใช้ฟร้อน (TH SarabunPSK) ชื่อภาษาอังกฤษใช้ฟร้อน (Calibri) ขนาด 14 pt ตัวหนา สีดำ วางตรงกลางกระดาษ
  4. ผู้แต่งหากมีมากกว่า 1 ท่านให้ใส่เลขกำกับที่มุมด้านบนขวาของชื่อ และผู้ที่เป็น Corresponding Author ให้มีเครื่องหมาย “*” กำกับ และต้องแสดงอีเมล์ เพื่อการติดต่อให้ปรากฎในต้นฉบับด้วย  โดยชื่อใช้ขนาดอักษร 16 pt ตัวหนา สีดำ ชิดขอบด้านขวา ส่วน อีเมล์ให้ทำสีนำเงินขีดเส้นใต้ไว้เป็นสำคัญ
  5. บทคัดย่อ ภาษาไทย ควรมีจำนวนระหว่าง 200-300 คำ และ บทคัดย่อภาษาอังกฤษให้แปลรักษาสำนวนเดิมของภาษาไทยไม่แปลเอาความมากเกินไป ควรมีการตรวจทานไวยากรและการใช้คำศัพท์โดยเฉพาะคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่เป็นคำเฉพาะอย่างระมัดระวังและสื่อความหมายตรงตามคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ
  6. คำสำคัญ และ Keywords ควรเป็นคำไม่ใช่เป็นประโยค์ถ้าเป็นคำปรุงผสมใหม่ให้ตัดเหลือเป็นคำเดี๋ยว และควรมีคำระหว่าง 3-5 คำ เท่านั้นโดยคันด้วยเครื่องหมาย “;” ระหว่างแต่ละคำ โดยชื่อใช้ขนาดอักษร 16 pt ตัวหนา สีดำ
  7. ตัวเลขที่ใช้ในต้นฉบับทั้งหมดให้ใช้ตัวเลขอารบิกเท่านั้น
  8. การนําเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนําเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกํากับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นําเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน และเข้าใจได้ โดยไม่จําเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ตารางให้วางเหนือตารางที่ปรากฎชิดมุมซ้าย เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และระบุลําดับของรูปภาพและตารางให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคําอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพและตารางที่นําเสนอ โดยชื่อใช้ขนาดอักษร 16 pt ตัวหนา สีดำ

บทความวิจัย (Original Research article) ให้เรียงลําดับหัวข้อสําคัญ ดังนี้

  1. บทคัดย่อ และ คําสําคัญ: มีความกระชับและประกอบด้วยแนวคิดหรือปัญหา/วัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ ผลการวิจัย ไม่น้อยกว่า 200-300 คำ

           Abstract: The abstract should be concise and encompass the research idea or problem/objectives, research methodology, study population and sample groups, research tools, analysis, and research findings, within a range of 200-300 words.

  1. บทนํา: การอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่นำมาสู่การวิจัย ควรมีการบอกช่องว่างในการวิจัย (Gaps) เพื่อให้เห็นว่าควรมีการทำวิจัย

           Introduction: This section aims to describe the background and significance of the problem leading to the research. It should highlight research gaps to underscore the necessity of the study.

  1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดในการวิจัย: การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย

           Literature Review and Theoretical Framework: This involves reviewing relevant literature and research, as well as establishing the theoretical framework for the study.

  1. วัตถุประสงค์: การนำเสนอวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย

           Objectives: Present the research objectives and hypotheses.

  1. ระเบียบวิธีการวิจัย: มีองค์ประกอบของ ประเภทการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เทคนิคการคัดเลือก เครื่องมือในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

           Research Methodology: Outline the components such as research type, study population, sample groups, selection techniques, research tools, research procedures, data collection, and analysis methods.

  1. ผลการวิจัย: เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือตอบสมมติฐานได้

           Results: Presentation of Research Findings, Align the presentation of findings with the research objectives or hypotheses.

  1. อภิปรายผลการวิจัย: มีการอภิปรายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีการอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับประเด็นและเนื้อหาที่ยกมาอภิปราย

           Discussion of Results: Discuss the results in accordance with the objectives, citing relevant research to support the discussed issues and content.

  1. สรุป: ครอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีประโยชน์เชิงวิชาการ

           Conclusion: Summarize the findings, ensuring they align with the objectives and emphasize the significance of the research.

  1. ข้อเสนอแนะ: ให้นำเสนอข้อเสนอแนะหรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จาการวิจัย เสนอต่อสาธารณะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

           Recommendations: Provide suggestions or new Body of Knowledge from the research, present recommendations for the public, and propose ideas for future research.

  1. เอกสารอ้างอิง: การอ้างอิงในบทความและท้ายบทความถูกต้องตามรูปแบบ APA 6th และความเหมาะสมของการใช้ภาษา

           References: Ensure that citations within the article and at the end follow the APA6 format and maintain language appropriateness.

บทความวิชาการ (Academic Article) ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้

  1. บทคัดย่อ: บอกความสำคัญ ผลการศึกษา และองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา

           Abstract: Summarize the significant of the study's,  findings, and the Body of knowledge gained from the study.

  1. บทนำ: การอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของประเด็นและแนวคิดที่จะนำเสนอ

           Introduction: Explain the background and significance of the issue and the concepts to be presented.

  1. เนื้อหา: ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอรายละเอียดสนับสนุนประเด็นและแนวคิดหลัก การนำเสนอประเด็นแนวคิดรองมีความชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสม การเชื่อมโยงและการจัดเรียงลำดับเนื้อหามีความสมบูรณ์

           Content: Comprises a review of related literature and relevant theories. Present supporting details for the main issues and key concepts. Clearly articulate and appropriately present secondary ideas. And ensure accuracy, completeness, coherence, and proper organization of content.

  1. สรุป: ครอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีประโยชน์

           Conclusion: Cover and align with the objectives, demonstrating the study's usefulness.

  1. ข้อเสนอแนะ หรือ องค์ความรู้: ให้นำเสนอข้อเสนอแนะหรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จาการศึกษา

           Recommendations or Body of Knowlage: Provide suggestions or new insights gained from the study.

  1. เอกสารอ้างอิง: การอ้างอิงในบทความและท้ายบทความถูกต้องตามรูปแบบ APA6

           References: Ensure accurate and appropriate APA 6th format for citations within the article and at the end.

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้

  1. บทนํา (Introduction)
  2. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลําดับ
  3. สรุป (Conclusion)
  4. เอกสารอ้างอิง (Reference)

 

ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

เอกสารที่นํามาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือ สามารถสืบค้นได้เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล้าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์

การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ (In-text Citation)

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปีตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA 6th) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุ ชื่อนามสกุลของผู้เขียนและคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่ตีพิมพ์กํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง หากเป็นพระที่มีสมณะศักดิ์พระราชทานแทนชื่อตั้งแต่ชั้นพระครูสัญญาบัตรขึ้นไปไม่ต้องใส่ชื่อและฉายา (หรือสกุล) คงใส่ชื่อและฉายาเฉพาะที่ไม่ใช่พระครูสัญญาบัตรลงมา หรือมีชื่อผู้แต่งตามด้วยวงเล็บปีที่พิมพ์ ส่วนภาษาอังกฤษให้แสดงด้วยการใส่วงเล็บเปิด-ปิด แล้วระบุนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์และหากเป็นหนังสือที่มีการอ้างหน้าให้ตามด้วยเครื่องหมายวิภาค (:) และระบุเลขหน้าที่อ้างหากมากกว่า 1 หน้า ให้ใช้เครื่องหมาย (-) ระหว่างตัวเลขที่ต่อเนื่องกัน หากไม่ต่อเนื่องให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น หากเป็นวารสารไม่ต้องใส่เลขหน้าคงไว้แต่ ชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์เท่านั้น ดังนี้

อ้างอิง 1 ท่าน

ภาษาไทย

(พิชิตชัย กุลธรสมุทร, 2564: 12-15)

(พระสิทธิศักดิ์ สิทธิเตโช, 2560: 19, 25, 30)

ภาษาอังกฤษ

(Loan, 2020: 150)

อ้างอิง 2 ท่าน

ภาษาไทย

(อรพิน แสงสี และ บรรจบ คงพักต์, 2563: 22)

(พระพรหมบัณฑิต และ พระอุดมโมลี, 2560)

ภาษาอังกฤษ

(Āchārshubho & Saengpare, 2022)

อ้างอิง 3 ท่าน ขึ้นไป

ภาษาไทย

          (จิณธร ปรียาสุนทร และคณะ, 2565)

ภาษาอังกฤษ

          (Nguyen, et al., 2020)

หากมีการอ้างอิงเรื่องเดี๋ยวกันในหลายเอกสารหรือต้องการอ้างอิงเรื่องเดี๋ยวกันจากการศึกษาอื่นมากกว่าหนึ่งแห่งทำด้วยการคั้นด้วยสัญลักษณ์อัฒภาค “;” และตามด้วย (ชื่อ-สกุล,/ปีที่พิมพ์) ดังนี้

ภาษาไทย

          (มกุฎราชวิทยาลัย, 2539; ป.อ. (ไทย) 22/282; ลลิต มณีธรรม, 2565)

ภาษาอังกฤษ

          (Financialexpress. 2019; DeVido, 2009)

การอ้างอิงราชกิจจานุเบกษา การสัมภาษณ์ เว็ปไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ ให้อ้างอิงด้วย ชื่อผู้แต่ง หากไม่มีให้อ้างอิงชื่อเว้ปไซต์ แม้จะเป็นนามแฝกก็อ้างอิงได้ และตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่เผยแพร่ หรือปรับปรุงล่าสุด ไม่ต้องแสดง URL ที่เนื้อหาให้ไปแสดงที่อ้างอิงท้ายเรื่อง และไม่ต้องใส่คำว่า “บทสัมภาษณ์” คงไว้แต่ชื่อสกุล และตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่สัมภาษณ์ ให้ไปแสดงคำว่า “บทสัมภาษณ์” ที่อ้างอิงท้ายเรื่อง เช่น

          (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2562)

          (สุรศักดิ์ ปานคำ, 2565)

          (United Nations, 2020)

การอ้างอิงเอกสาร

การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed. ต่อไปนี้

อ้างอิงจาก

รูปแบบและตัวอย่าง

หนังสือทั่วไป

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./จังหวัด (เมืองหรือประเทศ):/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ 

ตัวอย่าง :
ฟื้น ดอกบัว. (2554). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: บูรพาสาสน์.

ตัวอย่าง

Shantideva. (2006). The Way of the Bodhisattva. US LLC: Penguin Random House.

บทความในหนังสือ

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ ////////(ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความจากหน้าใดถึงหน้าใด)./สถานที่พิมพ์:/ ////////สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Kapila Abhayawansa. An Examination of the Concepts of Reality and Appearance in Kantian and Buddhist Thoughts. IBC Journal of Buddhist Studies IBCJBS. International Buddhist Collage. Thailand.

บทความวารสารออนไลน์

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้า-เลขหน้า. ////////URLของวารสาร

ตัวอย่าง

Thepa, P. C. A. (2022). Buddhist Psychology: Corruption and Honesty Phenomenon. Journal of Positive School Psychology, 6(2), 5986-6005. https://journalppw.com/index.php/jpsp/article/view/3655

บทความในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ใน/สถานที่จัด,/ชื่อการประชุม./(หน้า)./สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Thepa, P. C. A. (2022). Mindfulness: A Buddhism Dialogue of Sustainability Wellbeing. In 2022 International Webinar Conference on the World Chinese Religions. Nanhua University. Taiwan. https://urlcc. cc/sysek.

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต //////// หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา).

ตัวอย่าง

Le Chi Luc. (2021). Influence and Impact of Indian Buddhism on Vietnamese Buddhist History During the 1st to 14th Century A.D. Doctoral Dissertation. Acharya Nagarjuna University. India.

เว็บไซต์

รูปแบบการเขียน

ชื่อผู้เขียน./ (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต)./ ชื่อเรื่อง./ สืบค้นเมื่อวัน/เดือน/ปี./ จากเว็บไซต์: ///////URL Address

ตัวอย่าง

United Nations. (2020). Department of Economic and Social Affairs. Retrieved 20/10/2020. from https://sdgs.un.org/goals

 

ข้อพิจารณาทางจริยธรรม
• ผู้เขียนจะต้องดำเนินการวิจัยด้วยมาตรฐานสูงสุดในด้านความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมและข้อกำหนดทางกฎหมาย
• ผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครต้องแน่ใจว่าได้รับความยินยอมโดยแจ้งให้ทราบ โดยมีรายละเอียดลักษณะของการศึกษา ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าร่วม
• หากการวิจัยเกี่ยวข้องกับสัตว์ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยจัดให้มีหลักฐานของการดูแลที่เหมาะสม การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
• ผู้เขียนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมหรือคณะกรรมการพิจารณาของสถาบันที่เหมาะสม