วัตถุประสงค์ของวารสาร (Aims of the Journal)  

         วารสารธรรมเพื่อชีวิตเป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเผยแผ่สาระธรรมของมูลนิธิพุทธศาสนศึกษา 2. เพื่อพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพทางด้านวิชาการและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) 3. เพื่อเป็นวารสารที่ได้มาตรฐานสำหรับตีพิมพ์ผลงานของสมาชิกมูลนิธิและบุคคลทั่วไป 4) เพื่อบริการทางวิชาการ

ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ (Scope of the Journal)

          ขอบเขตเนื้อหาที่วารสารเปิดรับ ได้แก่ 1) ด้านพระพุทธศาสนา 2) ด้านปรัชญา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม 3) ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ 4) ด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ 5) ด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รูปแบบการการตีพิมพ์ (Process of Publication)

          กองบรรณาธิการให้ความสำคัญต่อกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยเป็นการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้เขียน (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น

          ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารนี้ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจึงจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร

          ข้อความ ตาราง ภาพ กราฟ หรือการแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารธรรมเพื่อชีวิต ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารธรรมเพื่อชีวิตแต่อย่างใด  

ข้อพิจารณาทางจริยธรรม
• ผู้เขียนจะต้องดำเนินการวิจัยด้วยมาตรฐานสูงสุดในด้านความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมและข้อกำหนดทางกฎหมาย
• ผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครต้องแน่ใจว่าได้รับความยินยอมโดยแจ้งให้ทราบ โดยมีรายละเอียดลักษณะของการศึกษา ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าร่วม
• หากการวิจัยเกี่ยวข้องกับสัตว์ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยจัดให้มีหลักฐานของการดูแลที่เหมาะสม การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
• ผู้เขียนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมหรือคณะกรรมการพิจารณาของสถาบันที่เหมาะสม

ประเภทของบทความ (Types of Articles)

         1) บทความวิจัย (Original Research Article)

         2) บทความวิชาการ (Academic Article)

         3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

ภาษาที่รับตีพิมพ์ (Languages)

         ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

การกำหนดตีพิมพ์ (Publication Frequency) 

         กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน)

              ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม

              ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน

              ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน

              ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม

การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

         ให้ผู้แต่งลงทะเบียนและส่งบทความ (Submission) เข้ามาในระบบของวารสารออนไลน์ให้เรียบร้อย และให้ชำระค่าธรรมเนียม บทความละ 4,000 บาท โดยดำเนินการดังนี้

         1) โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รหัสสาขา 0055 สาขาถนนตากสิน

         2) ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม เลขที่บัญชี 055-247452-7

         3) เมื่อชำระแล้ว ให้ส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนเงิน) แนบมาในช่องกระทู้สนทนาในระบบวารสารออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป

ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (2025): Journal of Dhamma for Life

เผยแพร่แล้ว: 02-04-2025

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กู๊ดแกธ์นิค ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

สุปภาดา ภูรีพงษ์ , วัลย์ลดา ทองเย็นบุริศร์, สุทธิชัย ปัญญโรจน์, รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ, ชุติกาญจน์ บุญพวง, ธรรมสรณ์ จิระรังสรรค์

787-800

การสื่อสารอุดมการณ์ช่างภาพในวงการศิลปะและธุรกิจ: กรณีศึกษา นายเกรียงไกร ไวยกิจ

ศิรวิชช์ ชยันตรดิลก, กนกรัตน์ ยศไกร , สุกัญญา บูรณะเดชาชัย

1-13

การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม: กรณีศึกษาวัดระฆังพรหมรังส

พศิน สินมา, อำพล บุดดาสาร, พระครูธรรมธรปุญญาพัฒน์ แสงวงศ์ดี

116-129

คุณภาพชีวิตในผู้ป่วย 3 เดือน หลังป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศุภนิดา โกยสมบูรณ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, ธัญลักษณ์ โอบอ้อม, อรอุมา ชุติเนตร

187-195

Beyond Crisis to Opportunity: Creating New Meaning in Life after Earthquakes Through the Four Noble Truths

Chetnitipath Promchin, Panachphongphan Bodhisatirawaranggoora, Phrapalad Thana Aggadhammo, Sompoch Wowong

212-223

Digital Marketing Communication to Enhance Cultural Soft Power in Gansu, China

DangJing , Sukanya Buranadechachai, Sakdina Boonpiam

280-293

Research on the Artistic Characteristics of Chinese Ballet in the 21st Century

Jingya Chen, Nataporn Rattanachaiwong , Qianqiu Jin

294 - 305

On the Role of Computers in Guangxi Folk Songs

Xinghong Pan, Chutima Maneewattana , Xiulei Ren

306 - 317

Analysis on the Attitudes and Listening Habits of Music Students Toward Classical Music

Kunjin He, Asst.Prof.Dr. Chutima Maneewattana, Xiulei Ren

360 - 373

แนวทางการส่งเสริมคุณภาพครูประถมศึกษาในยุคดิจิทัล

นวพร อัจฉริยะเกียรติ, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

374 - 391

Communication For Chinese Culinary Culture at China Town in Bangkok

Huang Juntao, Sukanya Buranadechachai , Sakdina Boonpiam

628-641

ศึกษาความสัมพันธ์เรื่องปรมัตถธรรมกับอภิปรัชญาของอริสโตเติล

พรรณภา รัตนพันธ์ , พระสิทธิพงษ์ ถิรปฺญโญ รุ่งกลับ , บุญร่วม คำเมืองแสน

642-654

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา

สุภีร์ ทุมทอง, พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป (คำเคน), ธานี สุวรรณประทีป

669-682

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการซื้อยาดมสมุนไพรไทย

กรรณ์ชฎาวรรณ บุญรงค์, จุฑาทิพ คล้ายทับทิม

683-694

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีโบราณทางออนไลน์

สุภีร์ ทุมทอง, พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ธานี สุวรรณประทีป

728-739

การศึกษารูปแบบแพลตฟอร์มและแอพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้สูงอายุกรณีเจ็บป่วย

วัลย์ลดา ทองเย็นบุริศร์, ชำนาญ ทองเย็น, สุปภาดา ภูรีพงษ์, สุทธิชัย ปัญญโรจน์, กิจกมน ไมตรี

740-752

คนอนาคตมีสิทธิต่อทรัพยากรทางธรรมชาติที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้หรือไม่

พระมหาพรชัย สิริวโร, พระครูปริยัติรัตนคุณบัณฑิต, พระเกรียงศักดิ์ สิริสกฺโก

141-150

ประสบการณ์นิยมรากฐานแห่งทฤษฎีความรู้ในปรัชญาตะวันตก

พระณรงค์ สุภทฺโท (สายสุข), บุญร่วม คำเมืองแสน, กฤตสุชิน พลเสน, พระปลัดชำนาญ โสภโณ (ดอกบัวผัน)

318-333

การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับจิตวิทยาการให้คำปรึกษารายบุคคล

พิชัย โชติชัยพร, ชมพู โกติรัมย์, เมตเตยยา เบลิอาเต, ธรรมิกะ ประนิธิ

348 - 359

ผลจริยศาสตร์ที่ปรากฏในสิงคาลกสูตร

พระสุริยน นริสฺสโร ผึ่งผาย, พระไพทูรย์ ฉนฺทกาโม ห้าวหาญ, ไพสิน ป้องภา, บุญร่วม คำเมืองแสน

554-566

กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งในองค์การ

อัณศยา ปานสุนทร, กัญจรัตน์ พันธ์แสง, เสกสรรณ ประเสริฐ, วนิดา บัณฑิตพานิชย์, นิยม ไพรสัณฑ์

695-707

ดูทุกฉบับ