สันติสุขตามหลักพุทธปรัชญา

Main Article Content

พระมหาสมใจ ปญฺญาทีโป (โสดาชัย)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญา เริ่มตั้งแต่ความหมายของสันติสุขอันหมายถึงความสุขที่เกิดจากความสงบ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ. สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี เมื่อจำแนกประเภทของสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญาแล้ว สามารถจำแนกสันติสุขโดยหลักใหญ่ๆเป็น 2 ประการได้แก่ 1) โลกียสันติสุข คือความสุขอันเป็นวิสัยของโลก สุขที่อิงอาศัยโลกเป็นความสุขที่เกี่ยวกับภพและภูมิภพ 2) โลกุตตรสันติสุข คือความสุขอันเป็นเรื่องภายในจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยสติปัญญา เป็นความสงบ สันติสุขอันนี้เกิดขึ้นภายในจิตใจโดยแท้ สันติสุขมีความสำคัญในลักษณะทำให้เกิดความสบาย ความเย็นใจ ความสงบระงับ เป็นความสุขที่เกิดจากภาวะแห่งความสงบและสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าไปถึงความอิสระจากปัจจัยทั้งปวง อันเรียกว่าบรมสุข มีเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความร่มเย็น เป็นความสุขสะอาดสงบ เป็นความสุขที่ไร้อามิสเกื้อกูลแก่ผู้อื่นทุกคนที่เกี่ยวข้อง เป็นการพัฒนาจิตไปสู่ความอิสระแห่งการรู้แจ้งอริยสัจอันเป็นหลักสูงสุดในพุทธปรัชญา ในด้านวิธีปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตเพื่อถึงจุดหมาย คือ สันติสุขขั้นต่าง ๆ นั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ครบถ้วนทุกระดับรวมเข้าอยู่ในไตรสิกขา 3 คือ ข้อที่จะต้องศึกษาฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุสันติสุขอันสูงสุด คือ พระนิพพาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

พระมหาสมใจ ปญฺญาทีโป (โสดาชัย), มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญา เริ่มตั้งแต่ความหมายของสันติสุขอันหมายถึงความสุขที่เกิดจากความสงบ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี เมื่อจำแนกประเภทของสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญาแล้ว สามารถจำแนกสันติสุขโดยหลักใหญ่ๆเป็น 2 ประการได้แก่ 1) โลกียสันติสุข คือความสุขอันเป็นวิสัยของโลก สุขที่อิงอาศัยโลกเป็นความสุขที่เกี่ยวกับภพและภูมิภพ 2) โลกุตตรสันติสุข คือความสุขอันเป็นเรื่องภายในจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยสติปัญญา เป็นความสงบ สันติสุขอันนี้เกิดขึ้นภายในจิตใจโดยแท้ สันติสุขมีความสำคัญในลักษณะทำให้เกิดความสบาย ความเย็นใจ ความสงบระงับ เป็นความสุขที่เกิดจากภาวะแห่งความสงบและสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าไปถึงความอิสระจากปัจจัยทั้งปวง อันเรียกว่าบรมสุข มีเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความร่มเย็น เป็นความสุขสะอาดสงบ เป็นความสุขที่ไร้อามิสเกื้อกูลแก่ผู้อื่นทุกคนที่เกี่ยวข้อง เป็นการพัฒนาจิตไปสู่ความอิสระแห่งการรู้แจ้งอริยสัจอันเป็นหลักสูงสุดในพุทธปรัชญา ในด้านวิธีปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตเพื่อถึงจุดหมาย คือ สันติสุขขั้นต่าง ๆ นั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ครบถ้วนทุกระดับรวมเข้าอยู่ในไตรสิกขา 3 คือ ข้อที่จะต้องศึกษาฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุสันติสุขอันสูงสุด คือ พระนิพพาน