โลกธรรม : การสนองตอบในสังคมปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกธรรมในมิติของการสนองตอบในสังคมปัจจุบันในสังคมยุคปัจจุบัน โลกธรรมถือว่าเป็นธรรมประจำโลกที่มนุษย์ทุกคนจะต้องได้ประสบพบเจอการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน พระพุทธศาสนามีหลักธรรมและคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาทางโลกที่เป็นปกติวิสัย ประสบการณ์ชีวิต สอนให้มนุษย์ต้องยอมรับสภาพและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโลกธรรมทั้งหลายกับตนเองให้ได้ โลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้ ฝ่ายหนึ่ง จะทำให้เกิดความอยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น ความพยายามที่จะให้มีให้เกิดขึ้นโดยไม่มีขอบเขตจำกัด เมื่อได้มาแล้วก็มักจะหลงมัวเมาลืมตัวเกิดความประมาท คือ เมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีความสุข ก็จะหลงงมงาย หยิ่งพยองลำพองตัว ไม่รู้ประมาณของตน อีกด้าน โลกธรรมฝ่ายตรงกันข้าม คือ อนิฏฐารมณ์ เป็นสิ่งที่ไม่มีบุคคลใดปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นกับตน เพราะต้องการที่จะประสบความสุขเท่านั้น ธรรมประจำโลก ได้แก่ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข และทุกข์ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์เข้ามาสัมผัสกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว ก็ย่อมจะได้รับแต่ความทุกข์อันไม่น่าปรารถนา ถ้าโลกธรรม 8 ประการเกิดขึ้นมาสัมผัสแล้ว หากคนเราวางใจให้เป็นกลาง ไม่หลงใหลไปตามอารมณ์ของโลกธรรม ชีวิตก็ย่อมจะมีแต่ความสุข เพราะสังคมปัจจุบันต้องการโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์เท่านั้น เพราะได้ประสบความสุขกายสบายใจ และเลือกที่จะปฏิเสธโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ เพราะเมื่อประสบเข้าย่อมมีแต่ความทุกข์กายทุกข์ใจ เมื่อคนใจยุคปัจจุบันเลือกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ และปฏิเสธโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ จิตใจย่อมเศร้าหมอง อ่อนแอ การฝึกวางใจตามหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงสำคัญ เพราะจะทำให้จิตใจคนในสังคมยุคปัจจุบันมีเกาะกำบังเมือจิตใจประสบโลกธรรมฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนา